ส่วนที่ 1

สภาพทั่วไปของจังหวัดภูเก็ต

1.1   ขนาดพื้นที่และอาณาเขตการปกครอง

                                จังหวัดภูเก็ต เป็นจังหวัดในภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย  ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 7 องศา 45 ลิปดา  ถึง 8 องศา 15 ลิปดาเหนือ และลองจิจูดที่  98  องศา  15  ลิปดา  ถึง 98 องศา 40 ลิปดาตะวันออก มีลักษณะเป็นเกาะ จัดเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของภาคใต้ในทะเลอันดามัน  มหาสมุทรอินเดีย  มีเกาะบริวาร 32 เกาะ  ส่วนกว้างที่สุดของเกาะภูเก็ตเท่ากับ 21.3  กิโลเมตร ส่วนยาวที่สุดของเกาะภูเก็ตเท่ากับ  48.7  กิโลเมตร  เฉพาะเกาะภูเก็ตมีพื้นที่ 543.034 ตารางกิโลเมตร ส่วนเกาะบริวารมีพื้นที่ 27 ตารางกิโลเมตร รวมพื้นที่ทั้งหมด 570.034 ตารางกิโลเมตรหรือ 356,271.25 ไร่ อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร   ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  4  และทางหลวงจังหวัดหมายเลข  402  รวมระยะทาง  867  กิโลเมตร  หรือ  ระยะทาง ทางอากาศ คิดเป็น 688  กิโลเมตร   มีอาณาเขตติดต่อ  ดังนี้

ทิศเหนือ                ติดช่องแคบปากพระ จังหวัดพังงา  เชื่อมโดยสะพานสารสินและสะพานเทพกระษัตรี

                ทิศตะวันออก       ติดทะเลเขตจังหวัดพังงา

                ทิศใต้                      ติดทะเลอันดามัน  มหาสมุทรอินเดีย

                ทิศตะวันตก          ติดทะเลอันดามัน  มหาสมุทรอินเดีย

1.2   ลักษณะภูมิประเทศ

                                จังหวัดภูเก็ตมีลักษณะเป็นหมู่เกาะ วางตัวในแนวจากทิศเหนือไปทิศใต้ พื้นที่ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ  70  เป็นภูเขา  มียอดเขาที่สูงที่สุด คือ  ยอดเขาไม้เท้าสิบสอง สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 529 เมตร และประมาณร้อยละ 30 เป็นพื้นที่ราบอยู่ตอนกลางและตะวันออกของเกาะ  พื้นที่ชายฝั่งด้านตะวันออกเป็นดินเลนและป่าชายเลน ส่วนชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกเป็นภูเขา และหาดทรายที่สวยงาม

1.3   ลักษณะภูมิอากาศ

                                จังหวัดภูเก็ต มีลักษณะภูมิอากาศแบบเขตศูนย์สูตร  อยู่ในเขตอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้  และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ  มีอากาศร้อนชื้นตลอดปี  มี  2   ฤดู  ประกอบด้วย

                                ฤดูฝน          เริ่มตั้งแต่เดือน  เมษายน  ถึง  เดือนพฤศจิกายน

                                ฤดูร้อน       เริ่มตั้งแต่เดือน  ธันวาคม  ถึง  เดือนมีนาคม

 

1.4   การปกครอง

                                จังหวัดภูเก็ต  แบ่งการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ออกเป็น  3  อำเภอ  ประกอบด้วย  อำเภอเมืองภูเก็ต  อำเภอกะทู้  อำเภอถลาง มีตำบล 17 ตำบล  และ  103  หมู่บ้าน  การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น  ประกอบด้วย  องค์การบริหารส่วนจังหวัด  1  แห่ง  เทศบาล 9 แห่ง  และองค์การบริหารส่วนตำบลอีก  9  แห่ง

ตารางแสดงข้อมูลเขตการปกครอง

อำเภอ

พื้นที่(ตร.กม)

ระยะห่างจากจังหวัด (กม)

ตั้งเมื่อ พ.ศ

จำนวน

ตำบล

หมู่บ้าน

เมืองภูเก็ต

224.000

1

2481

8

44

กะทู้

67.034

10

2457

3

13

ถลาง

252.000

19

2441

6

46

รวม

543.034

-

-

17

103

ที่มา : ที่ทำการปกครองจังหวัดภูเก็ต

1.5   ประชากรและความหนาแน่นของประชากร

                                ประชากรจังหวัดภูเก็ต    เดือนธันวาคม 2551  มีจำนวน 327,006 คน เป็นชาย 155,555 คน   หญิง 171,451 คน   ความหนาแน่นของประชากร  602  คนต่อตารางกิโลเมตร

1.6   ด้านเศรษฐกิจ

ตารางแสดงผลิตภัณฑ์จังหวัด จำแนกตามสาขาการผลิต

รายการ

ปี พ.ศ.2549

ปี พ.ศ.2550

(%)

ภาคเกษตร(ล้านบาท)

5,529

5,788

+4.48

นอกภาคเกษตร (ล้านบาท)

51,599

56,268

+8.30

ผลิตภัณฑ์จังหวัด (ล้านบาท)

57,128

62,055

+7.94

มูลค่าผลิตภัณฑ์เฉลี่ยต่อหัว(บาท)

200,765

214,521

+6.42

ประชากร (1,000 คน)

285

289

+1.39

ที่มา : สำนักงานคลังจังหวัดภูเก็ต

1.7   ด้านสังคม

·       การศึกษา

จังหวัดภูเก็ตมีสถานศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทั้งหมด 97 แห่ง  แบ่งเป็นตั้งแต่ระดับอนุบาล  ประถมศึกษา  มัธยมศึกษา  รวม 89 แห่ง  ปวช. – ปวส. 6 แห่ง  ปริญญาตรี 2 แห่ง

·       การสาธารณสุข

มีการให้บริการด้านสาธารณสุขประเภทบริการทั่วไป  โดยมีสถานบริการทั้งที่เป็นของรัฐและเอกชน  ดังนี้

1)      สถานบริการด้านสาธารณสุขของรัฐ

-          โรงพยาบาลทั่วไป 1 แห่ง (โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต) ขนาด 503 เตียง

-          โรงพยาบาลชุมชน 2 แห่ง ขนาด 60 เตียง

(โรงพยาบาลถลาง และโรงพยาบาลป่าตอง)

-          สถานีอนามัย                       จำนวน 21  แห่ง

-          ศูนย์บริการเทศบาล             จำนวน   3  แห่ง

2)      สถานบริการเอกชน    จำนวน  3  แห่ง

·       ศาสนา

ตารางแสดงจำนวนศาสนิกชนและศาสนสถาน

ปี.พ.ศ

จำนวนศาสนสถาน(แห่ง)

จำนวนศาสนิกชน (คน)

วัด

โบสถ์

มัสยิด

อื่นๆ

พุทธ

คริสต์

อิสลาม

อื่น

2549

39

4

50

3

203,356

2,936

80,251

959

2550

39

5

51

3

198,971

3,628

82,031

1,391

2551

39

4

50

4

230,874

4,809

87,981

1,153

 

ที่มา : สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดภูเก็ต

1.8   การคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐาน

·       การคมนาคม

                                จังหวัดภูเก็ตมีเส้นทางคมนาคม 3 ทาง  ได้แก่  ทางบก  ทางน้ำและทางอากาศ      การคมนาคม ทางบก  มีทางหลวงหมายเลข  402  เป็นเส้นทางหลัก และมีทางหลวงจังหวัดรอบเกาะ รวมทั้งเส้นทางอื่น ๆ ที่แยกออกจากทางหลวงหมายเลข  402  ไปยังชุมชนและสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ

                                สำหรับทางน้ำ  จังหวัดภูเก็ต  มีท่าเรือน้ำลึก  1  แห่ง  ได้แก่  ท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต        อยู่บริเวณอ่าวมะขาม  ใช้เป็นท่าเรือเพื่อการขนส่งสินค้า และเพื่อการท่องเที่ยว  นอกจากนั้นยังมีท่าเทียบเรือท่องเที่ยวและเรือขนาดเล็กอีก 14  แห่ง

                                ส่วนทางอากาศ มีสนามบินนานาชาติภูเก็ต ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร เชื่อมโยงทั้งภายในประเทศและต่างประเทศโดยตรง  ซึ่งสามารถรองรับเที่ยวบินได้ 10 เที่ยว/ชั่วโมง  รองรับผู้โดยสารได้มากกว่า 29 ล้านคน

·       ไฟฟ้า

จังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดแรกในประเทศไทย  ที่มีไฟฟ้าใช้ในทุกหมู่บ้าน  โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคภูเก็ต  ได้รับกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิต  สำหรับพื้นที่ที่เป็นเกาะกลางทะเลจะใช้กระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์  และเครื่องปั่นไฟฟ้าดีเซล   จังหวัดภูเก็ตมีจำนวนผู้ใช้ไฟฟ้า รวม 134,809  ครัวเรือน และมีจำนวนไฟฟ้าที่จำหน่าย  125,961,206.17  หน่วย

·       การประปา

การบริการประปาในจังหวัดภูเก็ต มีหน่วยงานรับผิดชอบ 3 หน่วยงาน คือ

1.เทศบาลนครภูเก็ต ผลิตน้ำประปาจากแหล่งน้ำดิบในขุมเหมือง  9 แห่ง ทั้งของเอกชนและเทศบาลเอง ประกอบด้วย

                -ขุมน้ำหน้า รพ.วชิระเก็ต                 ความจุ                    127,000                ลบ.ม

                - ขุมน้ำซอยพะเนียง                           ความจุ                    72,000                  ลบ.ม

                - ขุมน้ำเทศบาล                                   ความจุ                    334,000                 ลบ.ม

                - ขุมแฝด                                               ความจุ                    732,900                 ลบ.ม

                - ขุมน้ำริมถนนวิชิตสงคราม            ความจุ                    222,000                 ลบ.ม

                - ขุมน้ำบริษัทอนุภาษ อ.กะทู้           ความจุ               2,000,000                              ลบ.ม

                - ขุมน้ำคุณคณิต                                   ความจุ                      73,000                                ลบ.ม

                - ขุมน้ำบริษัทอนุภาษเจ้าฟ้า              ความจุ               1,000,000                              ลบ.ม     

2. การประปาส่วนภูมิภาค ดำเนินการผลิตน้ำประปาจาก 2 แหล่ง คือโรงกรองน้ำกะหลิมและโรงกรองน้ำบางวาด

3. การประปาท้องถิ่น จำนวน 5 แห่งให้บริการในชุมชนและบริเวณใกล้เคียง

                - การประปาเทศบาลตำบลเทพกระษัตรี

                - การประปาเทศบาลตำบลเชิงทะเล

                - การประปาบ้านสะปำ

                - การประปาเทศบาลเมืองป่าตอง

                - การประปา อบต.เทพกระษัตรี

·       การบริการโทรศัพท์  จังหวัดภูเก็ตมีชุมสายโทรศัพท์  50  ชุมสาย มีจำนวนเลขหมายเต็ม 67,719

เลขหมาย และที่เปิดใช้แล้ว 49,946 เลขหมาย

 

1.9  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

·     แหล่งน้ำธรรมชาติและพื้นที่ชุ่มน้ำ

                                จังหวัดภูเก็ตมีแหล่งน้ำบนดินและแหล่งน้ำใต้ดิน  ไม่มีแม่น้ำสายหลัก  มีเฉพาะลำคลองและธารน้ำสายสั้น ๆ จำนวน 118 สาย  มีพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ 2 แห่ง คือ        ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของเกาะภูเก็ตและอุทยานแห่งชาติสิรินาถ  เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติ 1 แห่ง คือ พรุบ้านไม้ขาว

·     การใช้ประโยชน์ที่ดิน

                                จังหวัดภูเก็ตมีพื้นที่ประมาณ 270 ตารางกิโลเมตร  เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ร้อยละ 55.11 ของพื้นที่  พื้นที่ป่าไม้ร้อยละ 18.76  ของพื้นที่เมือง  สิ่งก่อสร้างและอาคารร้อยละ 14.51 ของพื้นที่  พื้นที่แหล่งน้ำร้อยละ 0.22% ของพื้นที่และพื้นที่อื่น ๆ เช่น ทุ่งหญ้า ไม้พุ่มที่โล่ง ร้อยละ 11.40 ของพื้นที่

·     ป่าไม้

ตารางแสดงขนาดพื้นที่ป่าไม้ในจังหวัดภูเก็ต

ประเภท

ขนาดพื้นที่ (ตร.กม)

ปี 2548

ปี 2549

ปี 2550

ปี 2551

ป่าบก

- ป่าสงวน

- ป่าทั่วไป

75.53

75.53

75.53

75.53

31.17

31.17

31.17

31.17

44.36

44.36

44.36

44.36

ป่าชายเลน

22.79

22.79

22.79

22.79

ที่มา : สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดภูเก็ต

 

                                ตารางแสดงสัดส่วนพื้นที่ป่าต่อพื้นที่จังหวัด

ประเภท

สัดส่วนพื้นที่ป่าต่อพื้นที่จังหวัด (%)

ปี 2548

ปี 2549

ปี 2550

ปี 2551

พื้นที่ป่าไม้

18.16

18.16

18.16

18.16

พื้นที่ป่าอนุรักษ์

13.96

13.96

13.96

13.96

พื้นที่ป่าชายเลน

4.20

4.20

4.20

4.20

พื้นที่ป่าชุมชน

0.12

0.12

0.12

0.12

พื้นที่ป่าเศรษฐกิจ

0.09

0.09

0.09

0.09

ที่มา : สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดภูเก็ต

 

 

ส่วนที่ 2

สถานการณ์และแนวโน้มด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2.1   สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ

·       สภาวะเศรษฐกิจ

สภาวะเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ตที่หลากหลาย  แต่ส่วนใหญ่จะผูกขาดจากภาค   อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และภาคธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว  โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดต่อหัวประชากร (GPP Per capita) ปี 2550  รายได้ต่อคน/หัว 214,621 บาท  ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากปี 2549 ร้อยละ 6.46  สำหรับอัตราการผลิตในสาขาโรงแรมและภัตตาคารมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นจากทุกสาขาการผลิต  ถึงร้อยละ 8.30  ดังตาราง

 

 

 

 

 

(Millions of Baht)

 

2004r

2005r

2006p

2007p1

Agriculture

4,886

4,945

5,529

5,788

Agriculture, Hunting and Forestry

1,642

1,947

2,402

2,537

Fishing

3,244

2,998

3,127

3,251

Non-Agriculture

50,076

45,427

51,599

56,268

Mining and Quarrying

8

-0

0

0

Manufacturing

2,037

2,271

2,394

2,556

Electricity, Gas and Water Supply

1,355

1,296

1,460

1,574

Construction

2,457

2,925

2,927

2,999

Wholesale and Retail Trade; Repair of Motor Vehicles, Motorcycles and

 

 

 

 

   Personal and Household Goods

4,603

5,089

6,043

6,275

Hotels and Restaurants

25,785

20,766

22,000

23,880

Transport, Storage and Communications

6,614

5,174

7,887

9,173

Financial Intermediation

1,459

1,660

1,924

2,176

Real Estate, Renting and Business Activities

1,424

1,516

1,713

1,923

Public Administration and Defence; Compulsory Social Security

1,155

1,227

1,306

1,432

Education

993

1,172

1,519

1,673

Health and Social Work

821

923

990

1,127

Other Community, Social and Personal Services Activities

1,318

1,359

1,388

1,430

Private Households with Employed Persons

48

49

49

51

Gross Provincial Product (GPP)

54,962

50,371

57,128

62,055

GPP Per capita (Baht)

201,339

180,439

200,765

214,621

Population (1,000 persons)

273

279

285

289

 

 

·       ด้านการลงทุน

ในปี 2551 จังหวัดภูเก็ตมีนักลงทุนมาจดทะเบียนนิติบุคคลตั้งบริษัทและห้างหุ้นส่วนใหม่ทั้งสิ้น 1,583 แห่ง  แบ่งเป็นจดทะเบียนบริษัท 1,274 แห่ง  ห้างหุ้นส่วนจำกัด 309 แห่ง  เงินทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 3,807,771,500 บาท  ยกเลิกกิจการไปทั้งสิ้น 329 ราย

ในภาพรวมของจังหวัดในขณะนี้มีบริษัทที่ดำเนินธุรกิจอยู่ทั้งสิ้น 10,152 แห่ง  ห้างหุ้นส่วนจำกัด 3,468 แห่ง  ห้างหุ้นส่วนสามัญบุคคล 17 แห่ง  รวมทั้งสิ้น 13,637 แห่ง   โดยมีธุรกิจที่มีการจดทะเบียนดำเนินการมาก 5 อันดับแรก ประกอบด้วย  ธุรกิจเรียลเอสเตท  ธุรกิจด้านการท่องเที่ยว  ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างที่รองรับการเติบโตของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์  ธุรกิจจัดสรรที่ดิน  และธุรกิจรักษาความปลอดภัย  ซึ่งการจดทะเบียนบริษัทไม่ต่ำกว่า 70%  เป็นการร่วมลงทุนระหว่างไทยกับคนต่างชาติ  โดยคนไทยถือหุ้น 51%  และต่างชาติถือหุ้น 49%

·       ด้านการท่องเที่­ยว

จากสถิติของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ในช่วงปี 2550 มีจำนวนถึง 5,005,653 คน  เพิ่มขึ้นจากปี 2549  ร้อยละ 11.25  มีรายได้จากการท่องเที่ยว จำนวน 94,239.52 ล้านบาท  เพิ่มขึ้นจากปี 2549  ร้อยละ 21.45  ซึ่งจะเห็นได้จากตารางดังนี้

ตารางแสดงข้อมูลการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต

รายการข้อมูล

มกราคม – ธันวาคม 2551

ไทย

ต่างประเทศ

รวม

จำนวนผู้เยี่ยมเยือน

         1,722,243

           3,283,410

        5,005,653

     นักท่องเที่ยว

         1,566,344

           3,160,349

        4,726,693

     นักทัศนาจร

            155,899

               123,061

           278,960

จำนวนผู้เยี่ยมเยือนจำแนกตามพาหนะการเดินทาง

1,722,243

3,283,410

5,005,653

     เครื่องบิน

            545,743

           2,086,225

        2,631,968

     รถไฟ

-

-

-

     รถโดยสารประจำทาง

            423,527

               501,642

           925,169

     รถส่วนตัว

            752,973

               566,068

        1,319,041

     อื่น ๆ

-

129,475

129,475

 

 

 

 

ตารางแสดงข้อมูลการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต (ต่อ)

 

รายการข้อมูล

มกราคม - ธันวาคม

 

ไทย

ต่างประเทศ

รวม

จำนวนนักท่องเที่ยวจำแนกตามประเภทที่พัก

1,566,344

3,160,349

4,726,693

     บ้านญาติ/เพื่อน

            467,428

               151,989

           619,417

     ที่พักในอุทยานฯ

-

-

-

     บ้านรับรองฯ

-

-

-

     อื่น ๆ(อพาร์เม้นท์ วัด เป็นต้น)

26,330

                 75,856

           102,186

ระยะเวลาพำนักเฉลี่ยของนักท่องเที่ยว(วัน)

2.96

                     5.57

                  4.71

ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย/คน/วัน

           2,835.45

              4,551.50

          4,186.70

     นักท่องเที่ยว

           2,858.54

              4,565.74

          4,210.25

     นักทัศนาจร

           2,150.43

              2,514.52

          2,311.05

รายได้(ล้านบาท)

         13,567.65

           80,671.87

        94,239.52

     นักท่องเที่ยว

         13,232.40

           80,362.43

        93,594.83

     นักทัศนาจร

335.25

                 309.44

              644.69

ที่มา : สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยภาคใต้เขต 4

และคาดว่าในอนาคตจะมีนักท่องเที่ยวไม่ต่ำกว่า 10 ล้านคนขึ้นไป  เนื่องจากจังหวัดภูเก็ตมีทรัพยากร

ทางด้านการท่องเที่ยวที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพทางการท่องเที่ยวสูง  เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั่วโลกที่เป็นจุดแข็งและเป็นแม่เหล็กที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่ สามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่และประเทศเป็นจำนวนมาก  นอกจากนี้  ยังมีจุดแข็งในเรื่องของความสงบปลอดภัยในชีวิต  รวมถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมและประเพณี  ผู้คนที่มีอัธยาศัยไมตรี  การมีส่วนร่วมของภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ในการสร้างภาพลักษณ์  ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว  ทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ  ซึ่งหากมีการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวไม่ให้อยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรม  เช่น  ด้านการจัดระเบียบแหล่งท่องเที่ยว  ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม  ด้านการจัดการ   การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว  รวมทั้งการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเต็มศักยภาพที่มีอยู่  มีกิจกรรมที่เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่จังหวัดภูเก็ต  ก็จะเป็นต้นทุนของการท่องเที่ยวได้อย่างยั่งยืน

 

2.2   สถานการณ์ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต

·       ด้านแรงงาน

                                อัตราผู้อยู่ในวัยแรงงานของจังหวัดภูเก็ตในปี 2551 (ณ เดือนธันวาคม 2551) คิดเป็นร้อยละ 51.73 ของจำนวนประชากรทั้งหมด มีจำนวนแรงงานเพียง 152,097 คน โดยเป็นผู้มีงานทำ 150,620 คน ส่วนใหญ่ทำงานในสาขาบริการ ประเภทโรงแรมและภัตตาคาร สาขาการขายส่ง ขายปลีกฯ และสาขาการก่อสร้าง ซึ่งเมื่อเทียบกับความเป็นจังหวัดท่องเที่ยวแล้วถือว่าจำนวนแรงงานน้อย เนื่องจากภาคธุรกิจท่องเที่ยวและต่อเนื่องจากการท่องเที่ยว เป็นภาคธุรกิจสำคัญที่มีความต้องการแรงงานมาก โดยเฉพาะในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว โดยจังหวัดภูเก็ต มีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 197 บาท สูงเป็นอันดับหนึ่งของภาคใต้ ทำให้เกิดปัญหาแรงงานต่างถิ่น หลั่งไหล่เข้ามาทำงานในจังหวัดภูเก็ตเป็นจำนวนมาก รวมไปถึงแรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้านด้วย

                                ขณะที่จำนวนผู้ว่างงาน ซึ่งมีอยู่ประมาณ 1,477 คน หรือร้อยละ 0.97 ของกำลังแรงงาน ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เนื่องมาจากไม่พอใจในตำแหน่งงานว่างที่มีอยู่ ยังต้องการที่จะรอเลือกตำแหน่งงานที่ตรงกับความต้องการของตน รวมทั้งการขาดทักษะในการทำงานตามตำแหน่งงานว่าง และผู้จบการศึกษาใหม่ส่วนใหญ่ยังขาดประสบการณ์ในการทำงาน

                                ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ถึงแม้กำลังแรงงานจะเพิ่มขึ้น (9.9% ต่อปี) แต่ภาคเศรษฐกิจของจังหวัด โดยเฉพาะสาขาบริการสามารถจ้างแรงงานได้สูงกว่าอัตราการขยายตัวของกำลังแรงงาน (10.6% ต่อปี) และในอนาคตความต้องการของตลาดแรงงานของจังหวัดคาดว่าจะมีการขยายตัวเฉลี่ย 2.64% ต่อปี) โดยภาคบริการมีการขยายตัวมากที่สุด รองลงมาคือภาคอุตสาหกรรม

                                ในส่วนของความต้องการแรงงานจำแนกตามระดับการศึกษา พบว่ามีความต้องการกำลังคนระดับประถมศึกษา หรือต่ำกว่ามากที่สุด ประมาณ 7.5 หมื่นคน/ปี คิดเป็นสัดส่วนเท่ากับ 42% ต่อการจ้างงาน รองลงมาคือระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประมาณ 3.2 หมื่นคน คิดเป็นสัดส่วน 18% ต่อการจ้างงานระดับปริญญาตรี 14% ซึ่งจะเห็นได้ว่าตลาดแรงงานจังหวัดภูเก็ต ยังมีความต้องการแรงงานที่จบการศึกษาในระดับล่างเป็นจำนวนมาก

·       การชลประทาน

                                เนื่องจากจังหวัดภูเก็ตเป็นแหล่งท่องเที่ยว ปริมาณความต้องการน้ำที่สำคัญ คือ น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค  โครงการชลประทานภูเก็ต  ได้ใช้วิธีการศึกษาวิเคราะห์จากที่ได้จ้างบริษัทฯ ศึกษาการจัดหา น้ำภูเก็ตเมื่อปี 2539-2541 เป็นแนวทางการวิเคราะห์ปริมาณความต้องการน้ำในทุกกิจกรรม   และได้ใช้ข้อมูลจริงจากปี 2545- 2549  และวิเคราะห์คาดการณ์แนวโน้มปริมาณความต้องการน้ำของจังหวัด ภูเก็ต ผลคือปริมาณความต้องการน้ำเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2 ต่อปี  ตามการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและปริมาณนักท่องเที่ยว  ซึ่งจากปี 2547 มีความต้องการน้ำประมาณ  42 ล้านลูกบาศก์เมตร  ในปี  2552  ต้องการน้ำเพื่อการอุปโภค

 

บริโภคประมาณ  50  ล้านลูกบาศก์เมตร หรือต้องการน้ำประปาเฉลี่ยประมาณวันละ 137,000 ลูกบาศก์เมตร  ส่วนในระยะยาวปริมาณความต้องการน้ำ  ดังนี้ 

ปี  2560  ต้องการน้ำ          ประมาณ  61  ล้านลูกบาศก์เมตร 

ปี  2570  ต้องการน้ำ          ประมาณ  78  ล้านลูกบาศก์เมตร 

ปี  2580  ต้องการน้ำ          ประมาณ  101  ล้านลูกบาศก์เมตร

ปริมาณความต้องการน้ำเทียบสัดส่วนเป็นรายอำเภอ คือ

อำเภอเมืองภูเก็ต                 ต้องการน้ำประมาณร้อยละ 58 ของปริมาณความต้องการทั้งหมด

อำเภอกะทู้                            ต้องการน้ำประมาณร้อยละ 20 ของปริมาณความต้องการทั้งหมด

อำเภอถลาง                           ต้องการน้ำประมาณร้อยละ 22 ของปริมาณความต้องการทั้งหมด

สำหรับกำลังการผลิตน้ำประปาสูงสุดปัจจุบัน  โดยรวมระบบประปาขนาดเล็กในชุมชน   รวมประมาณ  125,800  ลูกบาศก์เมตร/วัน หรือ 3.8 ล้านลบ.ม./ปี หรือ 45 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี  ซึ่งจะเห็นได้ว่า กำลังการผลิตน้ำประปาสนองความต้องการน้ำได้ประมาณร้อยละ 85 ของความต้องการทั้งหมด และเป็นพื้นที่บริการน้ำประปาประมาณร้อยละ 39 ของทั้งเกาะภูเก็ต ทั้งนี้เนื่องจากโรงกรองน้ำ ประปามีหลายแห่ง  บางแห่งมีปริมาณน้ำดิบไม่เพียงพอ  จึงไม่สามารถผลิตน้ำประปาได้เต็มกำลัง  ก่อให้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำประปาในบางพื้นที่ 

 

แยกกำลังการผลิตแต่ละแหล่ง  ดังนี้

-ประปาภูมิภาค สูงสุดประมาณ 36,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน หรือ  13.2 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี

-ประปาบริษัทREQ.ประมาณ 28,500 ลูกบาศก์เมตร/วัน หรือ  10.4 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี

-ประปาเทศบาลนครภูเก็ตประมาณ 26,300ลูกบาศก์เมตร/วัน หรือ 9.5ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี

-ประปาขององค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลตำบล จำนวน 4 แห่ง รวมกำลังการผลิต ประมาณ          6,700 ลูกบาศก์เมตร/วัน  หรือ  2.5 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี

-ประปาในธุรกิจของเอกชนประมาณ 12,300 ลูกบาศก์เมตร/วัน หรือ  4.5 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี

 

ปริมาณความต้องการน้ำในแต่ละปี และคาดการณ์ปริมาณความต้องการน้ำในอนาคต

 

หน่วย – ล้าน ลบม.

ประชากร-คน

ปริมาณน้ำที่ต้องการ-ล้าน ลบม.

ปี

2548

%

ของเกาะ

ปี

2548

ปี

2549

ปี

2550

ปี

2560

ปี

2570

ปี

2580

อ.เมือง

186,288

63.3%

25.3

26.3

27.4

35.3

45.5

58.9

อ.กะทู้

37,984

12.9%

8.7

9.1

9.6

12.1

15.2

19.2

อ.ถลาง

69,941

23.8%

9.8

10.1

10.5

13.5

17.4

22.5

รวมทั้งหมด

294,213

100%

42.1

43.7

45.4

58.3

75.2

97.0

ที่มา : โครงการชลประทานภูเก็ต

·       ปัญหาด้านแหล่งน้ำ

                                นอกจากแผนการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำเพิ่มเติมอีก 2 แห่ง ที่กรมชลประทานอยู่ระหว่างดำเนินการในพื้นที่อื่น ไม่สามารถจะพัฒนาเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ได้ แต่สามารถพัฒนาแหล่งน้ำเก็บกักน้ำเดิมที่มี่อยู่ให้สามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ได้เต็มศักยภาพ  หรือโดยการส่งเสริมให้เอกชนพัฒนาแหล่งน้ำ  แม้ว่าเกาะภูเก็ตจะมีปริมาณฝนค่อนข้างมาก แต่ปัญหาการขาดแคลนน้ำยังคงมีอยู่ เนื่องจากเหตุ ดังนี้

                                (ก) การแผ่กระจายของฝนไม่สม่ำเสมอตลอดทั้งปี  ปริมาณน้ำฝนตกส่วนใหญ่ (80%) อยู่ในช่วงฤดูฝน  ช่วงเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม  แหล่งน้ำดิบสำหรับประปาส่วนมากเป็นน้ำท่า หรือเป็นการสูบใช้น้ำจากลำน้ำและขุมเหมือง  เมื่อไม่มีฝนตกจึงจะประสบปัญหาปริมาณน้ำไม่เพียงพอให้สูบใช้ได้เต็มความต้องการ

                                (ข)  ปริมาณการกักเก็บน้ำมีปริมาณไม่เพียงพอที่จะให้ใช้น้ำได้ตลอดช่วงแล้ง  ซึ่งปริมาณความจุดการเก็บกักน้ำที่เป็นของรัฐและใช้ได้ปัจจุบัน  รวมทั้งเกาะภูเก็ตประมาณ 11 ลูกบาศก์เมตร  ส่วนขุมเหมืองแร่เก่าที่เป็นแหล่งเก็บน้ำส่วนมากเป็นของเอกชน จึงไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์เพื่อสาธารณะ

                                (ค) ความต้องการใช้น้ำมีปริมาณมากอย่างรวดเร็ว  ตามความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเกาะภูเก็ต

·       ด้านสาธารณสุข

                                จังหวัดภูเก็ตมีอัตราบุคลากรทางด้านการแพทย์ รวมทั้งสิ้น 1,225 คน  แยกเป็น

แพทย์                                                             จำนวน     219      คน

ทันตแพทย์                                                    จำนวน       55      คน

เภสัชกร                                                         จำนวน      65      คน

พยาบาลวิชาชีพ                                           จำนวน     886      คน

บุคลากรทางด้านการแพทย์ของจังหวัดภูเก็ต ต้องรับผิดชอบประชาชนค่อนข้างสูง  โดยที่แพทย์ 1 คน ต้องรับผิดชอบดูแลประชากร 1,470 คน  ทันตแพทย์ 1 คน  ดูแลประชากร 5,855 คน  เภสัชกร 1 คน ดูแลประชากร 4,954 คน  และพยาบาลวิชาชีพ 1 คน ดูแลประชากร 364 คน ซึ่งเป็นอัตราที่ค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราประชากรในพื้นที่

2.3   สถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

·       ด้านทรัพยากรธรรมชาติ

·       ทรัพยากรทางทะเล

แนวชายฝั่งทะเลของประเทศไทย 2,815 กิโลเมตร  ซึ่งประกอบด้วยชายฝั่งชนิดต่างๆ เช่น หาดทราย หาดโคลน ป่าชายเลน เป็นต้น พื้นที่บริเวณนี้เป็นบริเวณที่มีทรัพยากร       ธรรมชาติที่มีความ

หลากหลายด้านนิเวศวิทยา  มีคุณค่าและประโยชน์อย่างมาก  จึงทำให้เป็นบริเวณที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ  ปัจจุบันทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งกำลังประสบปัญหาความเสื่อมโทรม อันเนื่องมากจากการเจริญเติบโตของกิจกรรมต่าง ๆ บริเวณชายฝั่ง และมีการนำทรัพยากรมาใช้ประโยชน์อย่างฟุ่มเฟือย  ขาดความระมัดระวัง  และไม่คำนึงถึงความสามารถในการรองรับจนก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  ทั้งในด้านปัญหาความเสื่อมโทรมของตัวทรัพยากร และปัญหาความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์ทรัพยากร

·       ชายหาดและชายฝั่ง

ชายหาดเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ  เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญสำหรับจังหวัดภูเก็ตมีชายหาดที่สวยงามเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั่วโลก  ซึ่งในปัจจุบันอยู่ในสถานการณ์ที่ถูกทำลายอย่างต่อเนื่อง  โดยมีสาเหตุหลัก คือ การสร้างสาธารณูปโภค สาธารณูปการเพื่อรองรับการท่องเที่ยว รวมทั้ง ปัญหาในเรื่องการกัดเซาะชายฝั่ง โดยเฉพาะพื้นที่มีการกัดเซาะอย่างรุนแรงในบริเวณหาดเลพัง บ้านบางเทา อ.ถลาง ซึ่งมีระยะทางประมาณ 3 ก. ม และพื้นที่มีน้ำกัดเซาะปานกลาง ในบริเวณอ่าวปอ บ้านบางแร่

อ.ถลาง ซึ่งมีระยะทางประมาณ 1.5 ก.ม

·       ทรัพยากรป่าไม้

ตารางแสดงจำนวนคดีเกี่ยวกับการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้จังหวัดภูเก็ต

ประเภท

ปีงบประมาณ

ปี 2549

ปี 2550

ปี2551

1. การลักลอบตัดไม้

-

1

2

2.การบุกรุกแผ้วถาลทำลายป่าไม้เพื่อยึดครองที่ดิน

20

20

26

3. การบุกรุกทำลายป่า (ป่าชายเลน)

4

3

13

4.อื่นๆ

3

2

-

รวม

27

26

41

 ที่มา : สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดภูเก็ต

                ซึ่งจากประเด็นดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการบุกบุกพื้นที่ดินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้อันเนื่องมาจาก

1.      ความเจริญเติมโตของภาคอุตสาหกรรมด้านการท่องเที่ยว

2.      ความขัดแย้งการถือครองสิทธิที่ดิน

3.      การใช้ที่ดินผิดประเภท

·        ด้านสิ่งแวดล้อม

·       สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

จากการที่จังหวัดมีความหลากหลายของลักษณะภูมิประเทศและระบบนิเวศน์วิทยา

ประกอบได้มีการพัฒนาศักยภาพด้านต่างๆ อย่างรวดเร็วเพื่อรองรับการขยายตัวของการท่องเที่ยว ธุรกิจเพาะเลี้ยงกุ้งและสัตว์น้ำชายฝั่งต่างๆ รวมถึงการทำการประมง ซึ่งนับเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล โดยเฉพาะน้ำชายฝั่งที่มีแนวโน้มของความเสื่อมโทรมซึ่งมีแนวโน้มที่จะรุนแรงเข้าสู่ภาวะวิกฤติ จึงได้มีกำหนดให้พื้นที่จังหวัดภูเก็ต เป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม โดย

กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

·       สถานการณ์คุณภาพน้ำชายฝั่ง

จากการที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต ทำให้มีการ

พัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดความพึงพอใจและเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจทั้งในระดับชุมชนจนถึงระดับประเทศ ซึ่งจากการพัฒนาดังกล่าวส่งผลให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากไม่มีการจัดการที่ดีพอ คุณภาพน้ำทะเลที่แย่ลงจากน้ำเสียที่ถูกปล่อยลงบริเวณชายฝั่งทะเล อาจส่งผลให้ธุรกิจการท่องเที่ยวไม่มีความยั่งยืน

·       ขยะและมลพิษ

                                                จากการที่จังหวัดภูเก็ตมีนักท่องเที่ยวปีละกว่า 4,500,000 – 5,000,000 คน และการเพิ่มของประชากรแฝงจากแรงงานในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ทำให้จังหวัดภูเก็ตต้องเผชิญกับปัญหาการเพิ่มของปริมาณขยะ ในอัตราเฉลี่ยมากกว่า 7% ต่อปี  จากวันละ 334 ตัน  ในปี 2546 เพิ่มขึ้นมากกว่า 550 ตัน ในปี 2551 และยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการเจริญเติบโตของเมือง และสามารถประเมินได้ว่าการผลิตขยะของประชากรตามทะเบียนราษฎร มีอัตราสูงถึง 1.23 กิโลกรัม/คน/วัน ปัจจุบันพบว่าแหล่งกำเนิดขยะขนาดใหญ่ ได้แก่ ตลาดสด  โรงแรม  ห้างสรรพสินค้า และสนามบิน

                                                จากการวิเคราะห์องค์ประกอบขยะ ณ ศูนย์การกำจัดขยะมูลฝอยรวมจังหวัดภูเก็ต พบว่า  มีสัดส่วนของขยะอินทรีย์ประมาณ 60% และมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งอาจะเป็นมาจากการใช้ประโยชน์ของเศษอาหารจากสถานประกอบการเพื่อการเลี้ยงสัตว์มีแนวโน้มลดลง

                                                จังหวัดภูเก็ต จัดตั้งศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวม  ซึ่งก่อสร้างด้วยงบประมาณของกรมโยธาธิการตั้งแต่ปี พ.. 2541  เพื่อรวบรวมขยะทั้งจังหวัดมากำจัด  โดยมีที่ตั้ง ณ พื้นที่ป่าชายเลนคลองเกาะผี หมู่ที่ 1 ตำบลวิชิต  อำเภอเมือง  จังหวัดภูเก็ต  เนื้อที่รวม 291 ไร่ 2 งาน 70 ตารางวา  ประกอบด้วย

                                                1) โรงเตาเผาขยะ ขนาด 250 ตัน/วัน  พื้นที่ 46 ไร่

                                                2) ระบบกำจัดมูลฝอยแบบฝังกลบ พื้นที่ 134 ไร่

                                                3) เตาเผามูลฝอยติดเชื้อ ขนาด 250 ตัน/วัน อยู่พื้นที่บริเวณฝังกลบ

                                                4) โรงคัดแยกมูลฝอย พื้นที่ 8 ไร่

                                                5) พื้นที่สำหรับก่อสร้างระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ

                จากผลการศึกษาการคาดการณ์ปริมาณขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของจังหวัดภูเก็ต จาก กรมควบคุมมลพิษ มูลนิธิเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อม (DEE) และจังหวัดภูเก็ต พบว่าในระยะเวลา 10 ปี ข้างหน้าจังหวัดภูเก็ตจะมีปริมาณขยะมูลฝอยประมาณ 900 – 1,000 ตัน/วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7

 

                                ตาราง : การคาดการณ์ปริมาณขยะมูลฝอยภายใน 10 ปี ข้างหน้า

แนวคิด

2544

2545

2546

2547

2548

2549

2550

2551

2552

2553

2554

2555

2556

2557

2558

2559

2560

1. ปริมาณขยะจากการชั่งน้ำหนัก ณ ศูนย์ฯ

281.8

309.6

333.9

364

375.7

429.3

495

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2. แนวคิดจากการศึกษาเสนอ สผ.

 

 

 

 

 

429

459

491

526

563

602

644

689

738

789

844

904

3. แนวคิดของจังหวัดภูเก็ต

 

 

 

 

 

 

495

530

567

606

649

694

743

795

851

910

974

4. แนวคิดของ คพ. (อัตราการเพิ่มขยะคงที่ ร้อยละ 7/ปี เริ่มปี 47)

 

 

 

364

390

417

446

477

511

546

585

625

669

716

766

820

877

หมายเหตุ : อัตราการเพิ่มปริมาณขยะมูลฝอยเฉลี่ยร้อยละ 7 ต่อปี

2.4   สถานการณ์อื่น ๆ ที่เป็นประเด็นการพัฒนาของจังหวัด

·       ปัญหาความต้องการพัฒนาพื้นที่

·       ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต

-  การขาดแคลนน้ำอุปโภค - บริโภค

                                                ในปี 2551 จังหวัดมีความต้องการน้ำโดยประมาณเท่ากับ 50 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี  หรือ 137,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน  ในขณะที่กำลังการผลิตน้ำประปาสูงสุดปัจจุบัน  โดยรวมระบบประปาขนาดเล็กในชุมชน   รวมประมาณ  125,800  ลูกบาศก์เมตร/วัน หรือ 45 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี  ในระยะสั้น การประปาภูมิภาคสนับสนุนให้เอกชนผลิตน้ำประปาเพิ่มมากขึ้น  พร้อมทั้งเพิ่มกำลังการผลิตน้ำประปาและขยายเขตพื้นที่บริการน้ำประปา และก่อสร้างระบบท่อประปาสายหลัก  เพื่อรวมน้ำเข้าระบบท่อสายหลักและกระจายหรือผันน้ำไปใช้พื้นที่อื่น ๆ ที่ขาดแคลน และได้กำหนดแผนระยะกลางในการแก้ไขปัญหา  โดยการพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่ต่าง ๆ ของจังหวัด  ได้แก่  อ่างเก็บน้ำคลองกะทะ  อำเภอเมืองภูเก็ต  ซึ่งมีความจุ 5.74 ลูกบาศก์เมตร แผนการก่อสร้างในปี 2553-2555 เป็นต้น เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำได้ถึงปี พ.ศ. 2560  และได้ศึกษาความเหมาะสมของโครงการวางระบบส่งน้ำจากเขื่อนรัชชประภา  จังหวัดสุราษฎร์ธานีมายังจังหวัดภูเก็ต  ซึ่งมีระยะทาง 180 กิโลเมตร  เพื่อกำหนดเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาในระยะยาว

-          การแก้ไขปัญหาความยากจนและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกกลุ่ม

-          การสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน

-          ปัญหายาเสพติด

-          การคุ้มครองผู้บริโภค

-          มาตรฐานการให้บริการรักษาพยาบาล

-          การเฝ้าระวังด้านสาธารณสุข

·       ด้านเศรษฐกิจ

-          การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ OTOP ให้ได้มาตรฐาน

-          โครงการศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ

-          โครงการ Sport Complex

·       ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

·       โครงการโครงข่ายคมนาคมทางบก เช่น

-          โครงการก่อสร้างทางยกระดับหรือทางลอดใต้ดิน (Over Pass / Under Pass)

บริเวณ สี่แยกไทนาน สี่แยกโลตัส  และสามแยกบ้านบางคู

-          โครงการก่อสร้างถนนสายกลาง (สายสาคู – เกาะแก้ว)

-           โครงการสะพานกลับรถยนต์บนถนนเทพกระษัตรี ตรงข้ามสถานีขนส่งหลังใหม่

-          โครงการก่อสร้างถนนสายหักด้านใต้ PH-RB-3A22  ระยะทาง 600 เมตร

-          โครงการก่อสร้างขยายถนน 4 ช่องจราจรทางหลวงหมายเลข 4026 ตอนแยกทาง

หลวงหมายเลข 402 – สนามบินภูเก็ต

-          การก่อสร้างถนนผังเมือง (ค) ส่วนที่เหลือ

·       ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

-          ปัญหาขยะและน้ำเสียจากชุมชน

-          ทรัพยากรธรรมชาติถูกบุกรุก ทำลาย เช่น ป่าชายเลน ป่าสงวน ปะการัง หญ้าทะเล

-          การใช้พลังงานทดแทน

-          การป้องกันน้ำท่วมในเขตเมืองและถนนสายต่างๆ

-          การอนุรักษ์พันธุกรรมพืช

·       ด้านการรักษาความมั่นคงและความสงบ

-          การเฝ้าระวังป้องกันและรักษาความปลอดภัยในพื้นที่

-          การป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติภัย

-          การสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

·       ด้านการบริหารจัดการ

-          การพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐให้มีความรวดเร็ว

-          การเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนและติดตามประเมินผลทั้งระดับชุมชนและจังหวัด

-          การเพิ่มศักยภาพด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

-          แก้ไขปัญหาเร่งด่วนของประชาชน

ส่วนที่ 3

ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดภูเก็ต

·       ทิศทางการพัฒนาจังหวัดภูเก็ต

·       ศักยภาพการพัฒนาของจังหวัดภูเก็ต

1.       มีทรัพยากรท่องเที่ยวที่งดงามโดดเด่นหลากหลาย

2.       ทรัพยากรมนุษย์ในภาคบริการมีพื้นฐานดี มีประสบการณ์ในงานสูง

3.       การเชื่อมโยงกับภูมิภาคและพัฒนาสู่นานาชาติ

4.       ความพร้อมด้านการเป็นศูนย์กลางด้านกิจกรรม MICE

 วิสัยทัศน์จังหวัดภูเก็ต  (Vision)

“ ศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลกมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีเอกลักษณ์วัฒนธรรมและมีการพัฒนาที่ยั่งยืน ”

 

·       พันธกิจ (Mission)

1.   เสริมสร้างและพัฒนาฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยว โครงสร้างพื้นฐาน  ภาคบริการสู่มาตรฐานสากล

2.   ส่งเสริมการค้าและการลงทุนในจังหวัด รวมถึงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

3.   เสริมสร้างความเข็มแข็งของครอบครัว/ชุมชน สู่ความเป็นสังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน

4.  พัฒนาคุณภาพชีวิตและมาตรฐานการให้บริการสุขภาพสู่มาตรฐานสากล รวมทั้งการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังควบคุมโรคและภัยทางสุขภาพ

5.   สร้างความมั่นคงภายในจังหวัดภายใต้การบูรณาการขององค์กรภาครัฐและภาคประชาชน

6.   ฟื้นฟูดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสู่ความสมดุลและยั่งยืน

7.  พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐสู่ความเป็นเลิศเพื่อสร้างความพึงพอใจและความเชื่อมั่นให้กับประชาชนและผู้รับบริการ

8.   การขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการภูมิปัญญาแห่งแผ่นดินขยายผลสู่ปวงชนชาวไทย

9.   ส่งเสริมประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่นให้มีเอกลักษณ์อย่างยั่งยืน

·       เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ (Objectives)

เพื่อบรรลุตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ตามที่กำหนดไว้ โดยพัฒนาจังหวัดภูเก็ตไปสู่

1.       การเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลก

2.        ยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตของประชาชน  และคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์วัฒนธรรมที่ดีงามของท้องถิ่น

3.        การบริหารการจัดการและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน 

4.    พัฒนาระบบการบริหารจัดการหน่วยงานภาครัฐสู่ความเป็นเลิศ และสร้างความพึงพอใจให้กับประชาชนและผู้รับบริการ

 

·       ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายการพัฒนา (KPI/Targets)

 

ตัวชี้วัด

เป้าหมายปี 2553

เป้าหมายปี 2554

เป้าหมายปี 2555

เป้าหมายปี 2556

·        รายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการท่องเที่ยว

·        นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อมาตรฐานความปลอดภัยและการให้บริการ

·        ประชาชนมีโอกาสในการศึกษา เรียนรู้ และพัฒนาตนเองตลอดชีวิต

·        ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และได้รับการบริการของรัฐอย่างทั่วถึง

·        คุณภาพมาตรฐานของสิ่งแวดล้อม

 

·        ระดับความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติทุกประเภท

 

·        ระดับความสำเร็จของการจัดการปัญหามลพิษของจังหวัด

 

 

·        ร้อยละของระดับความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อ      คุณภาพการให้บริการและการดำเนินงานของหน่วยงาน  ภาครัฐ

·        ร้อยละของหน่วยงานภาครัฐมีการพัฒนาขีดสมรรถนะของบุคลากรในการปฏิบัติงานและมีความรู้คู่คุณธรรม

·        ร้อยละของหน่วยงานภาครัฐมีพัฒนาด้านคุณภาพการบริหารจัดการได้ตามเป้าหมาย

·        ร้อยละของประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากภาครัฐ

ร้อยละ 15/ปี

ร้อยละ 80

 

อยู่ในระดับดี

 

อยู่ในระดับดี

 

อยู่ในระดับดี

 

อยู่ในระดับดี

 

 

ดำเนินการตามแผนได้ครบถ้วน

 

ร้อยละ 80

 

 

ร้อยละ 70

 

 

ร้อยละ 80

 

ร้อยละ 80

ร้อยละ 15/ปี

ร้อยละ 80

 

อยู่ในระดับดี

 

อยู่ในระดับดี

 

อยู่ในระดับดี

 

อยู่ในระดับดี

 

 

ดำเนินการตามแผนได้ครบถ้วน

 

ร้อยละ 80

 

 

ร้อยละ 70

 

 

ร้อยละ 80

 

ร้อยละ 80

ร้อยละ 15/ปี

ร้อยละ 80

 

อยู่ในระดับดี

 

อยู่ในระดับดี

 

อยู่ในระดับดี

 

อยู่ในระดับดี

 

 

ดำเนินการตามแผนได้ครบถ้วน

 

ร้อยละ 80

 

 

ร้อยละ 70

 

 

ร้อยละ 80

 

ร้อยละ 80

ร้อยละ 15/ปี

ร้อยละ 80

 

อยู่ในระดับดี

 

อยู่ในระดับดี

 

อยู่ในระดับดี

 

อยู่ในระดับดี

 

 

ดำเนินการตามแผนได้ครบถ้วน

 

ร้อยละ 80

 

 

ร้อยละ 70

 

 

ร้อยละ 80

 

ร้อยละ 80

 

 

ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด (Strategies)

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1

ศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลก

 

 

เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์

 

        การเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลก

 

 

ตัวชี้วัด

เป้าหมายปี 2553

เป้าหมายปี 2554

เป้าหมายปี 2555

เป้าหมายปี 2556

·     รายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการท่องเที่ยว

·     นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อมาตรฐานความปลอดภัยและการให้บริการ

ร้อยละ 15/ปี

ร้อยละ 80

ร้อยละ 15/ปี

ร้อยละ 80

ร้อยละ 15/ปี

ร้อยละ 80

ร้อยละ 15/ปี

ร้อยละ 80

กลยุทธ์หลัก

                                1. ส่งเสริมพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างมูลค่าให้กับการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน

                                2. ปรับโครงสร้างพื้นฐานให้มีคุณภาพสู่มาตรฐานสากลและเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว

                                3. ยกระดับมาตรฐานด้านการบริการและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว  รวมทั้งบุคลากรด้านการท่องเที่ยวสู่มาตรฐานสากล

                                4. ส่งเสริมการตลาดทั้งในและต่างประเทศ  เพื่อสร้างภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของจังหวัด

                                5. สร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัยในเรื่องธรณีพิบัติภัย การก่อการร้ายสากล และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

                                6. ส่งเสริมการพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว  โดยเน้น Mice, Health and Service, International Medical Service, Health Tourism, Spa, OTOP, Marina

                                7. สร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งระดับทวิภาคีและพหุภาคี ตามแผน IMT-GT เชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว การขนส่งทั้งทางบก ทางทะเล และทางอากาศ

 

 

 

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2

คุณภาพชีวิตที่ดี มีเอกลักษณ์วัฒนธรรม

 

 

เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์

 

ยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตของประชาชน และคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์วัฒนธรรมที่ดีงามของท้องถิ่น

 

 

ตัวชี้วัด

เป้าหมายปี 2553

เป้าหมายปี 2554

เป้าหมายปี 2555

เป้าหมายปี 2556

·     ประชาชนมีโอกาสในการศึกษา เรียนรู้ และพัฒนาตนเองตลอดชีวิต

·     ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และได้รับการบริการของรัฐอย่างทั่วถึง

ร้อยละ 80

 

ร้อยละ 80

 

ร้อยละ 80

 

ร้อยละ 80

 

ร้อยละ 80

 

ร้อยละ 80

 

ร้อยละ 80

 

ร้อยละ 80

 

 

กลยุทธ์หลัก

                                1. เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย  ขยายโอกาส ในอาชีพอย่างยั่งยืนให้แก่ประชาชน

                                2. สร้างหลักประกันและคุ้มครองสิทธิทางสังคมที่มีคุณภาพและเป็นธรรม

                                3. เสริมสร้างครอบครัวอบอุ่น  ชุมชนเข้มแข็ง และส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนสู่ความเป็นสังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน

                                4. ส่งเสริมการเรียนรู้  สืบสานศิลปวัฒนธรรม  สร้างเอกลักษณ์ที่ยั่งยืน

                                                5. ส่งเสริมสุขภาพสู่คุณภาพชีวิต และยกระดับมาตรฐานการให้บริการสุขภาพสู่มาตรฐานสากล  รวมทั้งพัฒนาระบบการเฝ้าระวังโรค และภัยทางสุขภาพ

                                6.  ส่งเสริมการเรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

 

 

 

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3

การพัฒนาที่ยั่งยืน

 

 

 

เป้าประสงค์

 

การบริหารจัดการและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

สู่ความสมดุลและยั่งยืน

 

ตัวชี้วัด

เป้าหมายปี 2553

เป้าหมายปี 2554

เป้าหมายปี 2555

เป้าหมายปี 2556

·     คุณภาพมาตรฐานของสิ่งแวดล้อม

 

·     ระดับความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติทุกประเภท

·     ระดับความสำเร็จของการจัดการปัญหามลพิษของจังหวัด

ร้อยละ 80

 

ร้อยละ 80

 

ดำเนินการ

ตามแผนได้ครบถ้วน

ร้อยละ 80

 

ร้อยละ 80

 

ดำเนินการ

ตามแผนได้ครบถ้วน

ร้อยละ 80

 

ร้อยละ 80

 

ดำเนินการ

ตามแผนได้ครบถ้วน

ร้อยละ 80

 

ร้อยละ 80

 

ดำเนินการ

ตามแผนได้

ครบถ้วน

 

กลยุทธ์หลัก

                                1. การขยายผลการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

                                2. สงวน  คุ้มครอง  อนุรักษ์  การใช้ประโยชน์และฟื้นฟูสภาพป่าและทรัพยากรธรรมชาติ  เพื่อรักษาความสมดุลระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

3. ควบคุมคุณภาพสิงแวดล้อมเพื่อลดผลกระทบคุณภาพชีวิต

                                4. การบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ

                                5. การพัฒนาภูเก็ตเป็นเมืองน่าอยู่ น่าเที่ยว

 

 

 

 

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4

การพัฒนาระบบบริหารงานให้มีความเป็นเลิศ

 

 

 

เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์

 

 

พัฒนาระบบการบริหารจัดการหน่วยงานภาครัฐสู่ความเป็นเลิศ และสร้างความพึงพอใจให้กับประชาชนและผู้รับบริการ

 

 

ตัวชี้วัด

เป้าหมายปี 2553

เป้าหมายปี 2554

เป้าหมายปี 2555

เป้าหมายปี 2556

1. ร้อยละของระดับความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อคุณภาพการให้บริการและการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ

2. ร้อยละของหน่วยงานภาครัฐมีการพัฒนาขีด

สมรรถนะของบุคลากรในการปฏิบัติงานและมีความรู้คู่คุณธรรม

3. ร้อยละของหน่วยงานภาครัฐมีพัฒนาด้านคุณภาพการบริหารจัดการได้ตามเป้าหมาย

4. ร้อยละของประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากภาครัฐ

 

ร้อยละ 80

 

 

 

ร้อยละ 70

 

 

ร้อยละ  80

 

ร้อยละ 80

ร้อยละ 80

 

 

 

ร้อยละ 70

 

 

ร้อยละ  80

 

ร้อยละ 80

ร้อยละ 80

 

 

 

ร้อยละ 70

 

 

ร้อยละ  80

 

ร้อยละ 80

ร้อยละ 80

 

 

 

ร้อยละ 70

 

 

ร้อยละ  80

 

ร้อยละ 80

กลยุทธ์หลัก

                                1. พัฒนาระบบการทำงานของภาครัฐให้มีความโปร่งใส  รวดเร็ว  ถูกต้อง  เป็นธรรม

                                2. ใช้เทคโนโลยีและการสนเทศพัฒนาระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

                             3. เสริมสร้างธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทุกระดับ  เพื่อสร้างการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขของทุกภาคส่วนในสังคม

4. พัฒนาขีดความสมรรถนะของบุคลากรและองค์กรให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่

สามารถยอมรับได้

 

 

(ข้อมูล ณ วันที่  12  พ.ค. 2552)