ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม


 
จำนวนผู้เข้าชม
(เริ่ม 27 พ.ค. 2552)

          ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.2519 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยฉบับที่ 2 พ.ศ. 2534 อาจแบ่งยาเสพติดออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
            1. ยาเสพติดให้โทษ ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ
            2.วัตถุออกฤทธิ์ ตาทกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
            3. สารระเหย ตามกฏหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหย
    ยาเสพติดให้โทษ แบ่งตามความร้ายแรงได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้
       ประเภทที่ 1
ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง เช่น เฮโรอีน อาซีทอร์ฟีน แอมเฟตามีน ฯลฯ
       ประเภทที่ 2 ยาเสพติดให้โทษทั่งไป เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคอีน โคเคน ฯลฯ
       ประเภทที่ 3
ยาเสพติดให้โทษชนิเป็นต้นตำรับยาที่มาเสพติดให้โทษประเภทที่ 2 ปรุงผสมอยู่ด้วย เช่น ยาแก้ไขที่มีฝิ่นหรือโคเดอีนเป็นส่วนผสม ยาแก้ท้องเสีย
       ประเภทที่ 4
สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 หรือ 2 เช่น อาเซติลคลอไรด์ อาเซติลแอนไฮไดรด์
       ประเภทที่ 5
ยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในประเภทที่ 1 ถึง 4 เช่น กัญชา กระท่อม
    วัตถุออกฤทธิ์ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
       ประเภทที่ 1
ดีเอ็มที เมสคาลีน แอลเอสดี เดตราไฮโดรแคนนาบินอล ฯลฯ
       ประเภทที่ 2
อีเฟดรีน เมธิลเฟนีเดท เซโคลบาร์บิตาล เมธาควาโลน ฯลฯ
       ประเภทที่ 3 อะโมบาร์บิตาล ไซโคลบาร์บิตาล กลูเตธิไมด์ เมโปรบาเมท ฯลฯ
       ประเภทที่ 4 บาร์บิตาล ฟีโนบาร์บิตาล ไดอาซีแพม คลอไดอาชีพอกไซค์ ฯลฯ
    ยาเสพติดแบ่งตามฤทธิ์ของยาที่มีผลต่อร่างกาย แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
       1. ยาเสพติดประเภทกดประสาท เช่น กลุ่มฝิ่น ยาระงับประสาท และยานอนหลับ
       2. ยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท เช่น แอมเฟตามีน กระท่อม โคคาลีน บุหรี่ กาแฟ
       3. ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท เช่น แอลเอสดี ดีเอ็มที เห็ดขี้ควาย
       4. ยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน อาจกด กระตุ้นหรืหลอนประสาท
    สารระเหย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
      -  กลุ่มเป็นสารเคมี เช่น อาซีโทนเอทิน เอทิล อาซิเตท โทลูอีน ฯลฯ
      -  กลุ่มที่เป็นผลิตภัณฑ์ เช่น ทินเนอร์ แล็กเกอร์ กาว ฯลฯ