Untitled Document
บรรยายสรุปจังหวัดภูเก็ต
บรรยายสรุปจังหวัดภูเก็ต

บทที่ 1 สภาพทั่วไปของจังหวัด
  ความเป็นมา
  ขนาดพี้นที่และเขตการปกครอง
  ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ
  การปกครอง ประชากร
  การประกอบอาชีพ
  การเลือกตั้ง
         
 สมาชิกวุฒิสภา
          สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

          
การเลือกตั้งท้องถิ่น
          การออกเสียงประชามติ


บทที่ 2 ด้านสังคม
  การศึกษา การสาธารณสุข
  ศาสนา
  ยาเสพติด
  ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
  สวัสดิการสังคม
  แรงงานต่างด้าวในจังหวัดภูเก็ต    สาธารณภัย
  ภูมิปัญญาและแหล่งเรียนรู้

บทที่ 3 สภาพทางเศรษฐกิจ
 
ภาวะเศรษฐกิจการค้า
   แนวโน้มการท่องเที่ยวในช่วงกลางปี 2553
  ด้านแรงงาน
  ด้านอุตสาหกรรม
   ชุมชนและการรวมกลุ่ม
   เกษตรกร
  การเกษตรกรรม
  โครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว
 
บทที่ 4 โครงสร้างพื้นฐาน
   คมนาคมและโครงสร้างพื้นฐาน
   ป่าไม้
   การชลประทาน
   โครงการโครงสร้างพื้นฐาน

บทที่ 5 การพัฒนาจังหวัด
   ปัญหาและความต้องการ
   การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม 
   กรอบการดำเนินงาน
  ทิศทางการพัฒนา
   ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
   ยุทธศาสตร์ที่ 1
   ยุทธศาสตร์ที่ 2
   ยุทธศาสตร์ที่ 3
   ยุทธศาสตร์ที่ 4  
   โครงการและงบประมาณ 2553

    

 สารบัญ
 
บทที่ 1 สภาพทั่วไปของจังหวัด
 บทที่ 2 ด้านสังคม
 บทที่ 3 สภาพทางเศรษฐกิจ
 บทที่ 4 โครงสร้างพื้นฐาน
 บทที่ 5 การพัฒนาจังหวัด

ความเป็นมา

          " ภูเก็ต " ได้มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่บ้านกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งได้ขุดพบเครื่องมือหินและขวานหินเป็นการแสดงให้ทราบว่ามี มนุษย์อาศัยในดินแดนแถบนี้ไม่ต่ำกว่า 3,000 ปี มาแล้วและได้มีหลักฐานการ กล่าวถึงดินแดนในแถบนี้อีกครั้ง เมื่อปี พ .ศ. 700 หรือ คริสต์ศตวรรษที่ 2 ในบันทึกของนักเดินเรือ ชื่อ คลอดิอุส ปโตเลมี กล่าวถึงผืนดินหรือแผ่นดินในส่วนนี้ว่า " แหลมตะโกลา " เป็นผืนดินที่ถูกดันออกมาทางใต้กลายเป็นแหลมยาว ๆ อยู่ส่วนปลายสุดของจังหวัดพังงา อันเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวของรอยเลื่อนของเปลือกโลกขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า รอยเลื่อนคลองมารุย ( Klong Marui Fault) ซึ่งวางตัวเป็นแนวยาวจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีและพังงา ลงมาทางทิศตะวันออกของภูเก็ต ต่อมาได้ถูกคลื่นลมในทะเลกัดเซาะ และตัดพื้นที่ดังกล่าวนี้ออกจากผืนแผ่นดินใหญ่ จนกลายเป็นเกาะโดยเกิดร่องน้ำระหว่างจังหวัดภูเก็ตและพังงาขึ้น ที่เรียกว่า ช่องแคบปากพระ (เป็นร่องน้ำแคบ ๆ โดยส่วนที่ลึกที่สุดลึกเพียง 8-9 เมตร ) ในปัจจุบันสำหรับการเรียกขานภูเก็ตของชาวต่างประเทศ ในอดีตนอกจากจะมีปรากฎในบันทึก เมื่อปี พ .ศ. 700 ของนักเดินเรือ คลอดิอุส ปโตเลมี ที่เรียกผืนดินในบริเวณนี้ว่า " แหลมตะโกลา " แล้ว ได้มีปรากฎหลักฐานการกล่าวถึงผืนดินในบริเวณนี้อีกครั้ง จากบันทึก และแผนที่การเดินเรือมาเอเชียตะวันออกของชาติยุโรป ระหว่าง พ .ศ. 2054-2397 เรียกผืนดินนี้ว่า " จังซีลอน" นอกจากนี้ ได้มีหลักฐานเกี่ยวกับการเรียกขานผืนดินนี้ของชาวทมิฬ์ในปี พ.ศ. 1568 ว่า " มณิกคราม " หมายถึง “ แก้ว ” ซึ่งมีความหมายตรงกับชื่อ " ภูเก็จ " ซึ่งแปลว่า “ เมืองภูเขาแก้ว ” ที่ปรากฎหลักฐานชัดเจนในจดหมายของท้าวเทพกระษัตรี เมื่อ พ.ศ. 2328 ที่เขียนถึงกัปตัน ฟรานซิส ไลท์ โดยเนื้อหาส่วนหนึ่งกล่าวถึงบุตรชาย คือ พระยาถลางเทียน เมื่อครั้งเป็นเจ้าเมืองภูเก็จ ความว่า “ ให้บอกไปแก่เมืองภูเก็จให้แจ้ง ข้าเจ้าจะเอาลงมาให้ ” และได้มีการเรียกขานเรื่อยมาจนกลายเป็น" ภูเก็ต " ซึ่งได้ปรากฎในราชกิจจานุเบกษามาตั้งแต่ พ.ศ. 2450 เป็นต้นมา
           ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ชื่อของจังหวัดภูเก็ตที่ได้มีการกล่าวขานตั้งแต่ในอดีตจนกระทั่งปัจจุบันนั้น ประกอบด้วย แหลมตะโกลา มณิกคราม จังซีลอน ภูเก็จ และภูเก็ต ซึ่งในบางครั้งได้มีการเรียกขานว่า สิลัน ถลาง และทุ่งคาร่วมด้วย


 

                                                              

ผู้เข้าชม คน ( เริ่ม 24 มี.ค. 53)

จัดทำโดย: กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดภูเก็ต    โทรศัพท์ 076 360700 ต่อ 68052