Untitled Document
บรรยายสรุปจังหวัดภูเก็ต
บรรยายสรุปจังหวัดภูเก็ต

บทที่ 1 สภาพทั่วไปของจังหวัด
  ความเป็นมา
  ขนาดพี้นที่และเขตการปกครอง
  ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ
  การปกครอง ประชากร
  การประกอบอาชีพ
  การเลือกตั้ง
         
 สมาชิกวุฒิสภา
          สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

          
การเลือกตั้งท้องถิ่น
          การออกเสียงประชามติ


บทที่ 2 ด้านสังคม
  การศึกษา การสาธารณสุข
  ศาสนา
  ยาเสพติด
  ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
  สวัสดิการสังคม
  แรงงานต่างด้าวในจังหวัดภูเก็ต    สาธารณภัย
  ภูมิปัญญาและแหล่งเรียนรู้

บทที่ 3 สภาพทางเศรษฐกิจ
 
ภาวะเศรษฐกิจการค้า
   แนวโน้มการท่องเที่ยวในช่วงกลางปี 2553
  ด้านแรงงาน
  ด้านอุตสาหกรรม
   ชุมชนและการรวมกลุ่ม
   เกษตรกร
  การเกษตรกรรม
  โครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว
 
บทที่ 4 โครงสร้างพื้นฐาน
   คมนาคมและโครงสร้างพื้นฐาน
   ป่าไม้
   การชลประทาน
   โครงการโครงสร้างพื้นฐาน

บทที่ 5 การพัฒนาจังหวัด
   ปัญหาและความต้องการ
   การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม 
   กรอบการดำเนินงาน
  ทิศทางการพัฒนา
   ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
   ยุทธศาสตร์ที่ 1
   ยุทธศาสตร์ที่ 2
   ยุทธศาสตร์ที่ 3
   ยุทธศาสตร์ที่ 4  
   โครงการและงบประมาณ 2553

    

 สารบัญ
 
บทที่ 1 สภาพทั่วไปของจังหวัด
 บทที่ 2 ด้านสังคม
 บทที่ 3 สภาพทางเศรษฐกิจ
 บทที่ 4 โครงสร้างพื้นฐาน
 บทที่ 5 การพัฒนาจังหวัด

ด้านป่าไม้

      จังหวัดภูเก็ต มีเนื้อที่ 543.03 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 339,396 ไร่และมีเกาะบริวาร จำนวน 32  เกาะ รวมเนื้อที่ 27 ตารางกิโลเมตร รวมเนื้อที่จังหวัดภูเก็ตทั้งหมด 570.034 ตารางกิโลเมตร หรือ 356,271.25 ไร่ เป็นป่าสงวนแห่งชาติเนื้อที่ 169.3 ตารางกิโลเมตร ประมาณ 107,578 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 31.70 ของเนื้อที่ทั้งหมด มีป่าที่มีความสำคัญและความสมบูรณ์ คือ ป่าควนเขาพระแทว ซึ่งได้ประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาพระแทว โดยป่าสงวนแห่งชาติในจังหวัดภูเก็ตมีทั้งหมด 16 ป่า ป่าบก 9 ป่า และป่าชายเลน 7 ป่า ดังนี้


ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าบก มี 9 ป่า ได้แก่

  1. ป่าเขารวก-เขาเมือง
  2. ป่าควนเขาพระแทว
  3. ป่าบางขนุน
  4. ป่าเกาะโหลน
  5. ป่าเทือกเขากมลา
  6. ป่าเทือกเขานาคเกิด
  7. ป่าเขาโต๊ะแซะ
  8. ป่าเขาสามเหลียม
  9. ป่าเขาไม้พอก-ไม้แก้ว

ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าชายเลนมี 7 ป่า ได้แก่

  1. ป่าเลนคลองบางชีเหล้า-คลองท่าจีน
  2. ป่าเลนคลองเกาะผี
  3. ป่าเลนคลองพารา
  4. ป่าเลนคลองท่ามะพร้าว
  5. ป่าเลนคลองท่าเรือ
  6. ป่าเลนคลองอู่ตะเภา
  7. ป่าเลนคลองบางโรง

หมายเหตุ ป่าชายเลนตาม พ.ร.บ.ป่าไม้พุทธศักราช 2484 ป่าเลนบ้านอ่าวยน ต.วิชิต อ.เมือง ภูเก็ต เนื้อที่ 200 ไร่ (อยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียดเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติต่อไป)

      จังหวัดภูเก็ตมีพื้นที่ป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติ ป่าไม้ พุทธศักราช 2484 จำนวน 16 ป่า รวมพื้นที่ป่า 28,029.50 ไร่ ดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 แสดงจำนวนพื้นที่ป ่าไม้ถาวรจังหวัดภูเก็ต

พื้นที่ป่าไม้ถาวร

เนื้อที่

พื้นที่ป่าไม้ถาวร

เนื้อที่

1. ป่าสนทะเลลายัน

19

9. ป่าเลนคลองท่าเรือ

1,103

2. ป่าเลนคลองอู่ตะเภา

1,034

10. ป่าควนเขากมลา

6,434

3.ป่าเลนคลองท่ามะพร้าว

1,629

11. ป่าเลนคลองมุดง

1,519.50

4. ป่าเลนคลองพารา

916

12. ป่าเลนคลองบางชีเหล้า-คลองท่าจีน

1,211

5. ป่าเขาสามเหลี่ยม

1,481

13. ป่าควนเขานาคเกิด

5,280

6. ป่าบางขนุน

1,122

14. ป่าควนเขาโต๊ะแซะ

132

7. ป่าเลนคลองบางโรง

608

15. ป่าเกาะโหลน

786

8. ป่าควนเขาพระแทว

4,693

รวมเนื้อที่

27,937.50 ไร่

ที่มา : สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดภูเก็ต

พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ที่มอบให้สปก. มีจำนวน 3 ป่า คือ

1. ป่าเทือกเขากมลา            เนื้อที่      21,480       ไร่
2. ป่าเทือกเขานาคเกิด        เนื้อที่      19,005.5    ไร่
3. ป่าเขาสามเหลี่ยม           เนื้อที่            715       ไร่
รวมเนื้อที่     41,200.5  ไร่

เปรียบเทียบสัดส่วนพื้นที่ป่าต่อพื้นที่จังหวัด
      พื้นที่จังหวัดภูเก็ตรวมเกาะบริวาร   จำนวน   356,271.25 ไร่ พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและป่าไม้ถาวรที่เป็นป่าบก จำนวนเนื้อที่ 116,172.5 ไร่ มอบให้สำนักงานปฏิรูปที่ดินไปดำเนินการออก สปก. 4-01 จำนวนเนื้อที่ 41,200.50 ไร่ เหลือพื้นที่ยังเป็นสภาพเป็นป่า จำนวนเนื้อที่ 74,972 ไร่ คิดเป็น 21.04 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ป่าทั้งจังหวัด   พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่เป็นป่าชายเลน   จำนวนพื้นที่   19.343  ไร่   คิดเป็น 5.43  เปอร์เซ็นต์   ของพื้นที่จังหวัด

หมายเหตุ : สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โทร 0 7621 1067

 

 

 

                                                              

จัดทำโดย: กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดภูเก็ต    โทรศัพท์ 076 360700 ต่อ 68052