บทที่ 1 สภาพทั่วไปของจังหวัด
ความเป็นมา
ขนาดพี้นที่และเขตการปกครอง
ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ
การปกครอง ประชากร
การประกอบอาชีพ
การเลือกตั้ง
สมาชิกวุฒิสภา
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
การเลือกตั้งท้องถิ่น
การออกเสียงประชามติ
บทที่ 2 ด้านสังคม
การศึกษา การสาธารณสุข
ศาสนา
ยาเสพติด
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
สวัสดิการสังคม
แรงงานต่างด้าวในจังหวัดภูเก็ต สาธารณภัย
ภูมิปัญญาและแหล่งเรียนรู้
บทที่ 3 สภาพทางเศรษฐกิจ
ภาวะเศรษฐกิจการค้า
แนวโน้มการท่องเที่ยวในช่วงกลางปี 2553
ด้านแรงงาน
ด้านอุตสาหกรรม
ชุมชนและการรวมกลุ่ม
เกษตรกร
การเกษตรกรรม
โครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว
บทที่ 4 โครงสร้างพื้นฐาน
คมนาคมและโครงสร้างพื้นฐาน
ป่าไม้
การชลประทาน
โครงการโครงสร้างพื้นฐาน
บทที่ 5 การพัฒนาจังหวัด
ปัญหาและความต้องการ
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
กรอบการดำเนินงาน
ทิศทางการพัฒนา
ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
ยุทธศาสตร์ที่ 1
ยุทธศาสตร์ที่ 2
ยุทธศาสตร์ที่ 3
ยุทธศาสตร์ที่ 4
โครงการและงบประมาณ 2553
สารบัญ
บทที่ 1 สภาพทั่วไปของจังหวัด
บทที่ 2 ด้านสังคม
บทที่ 3 สภาพทางเศรษฐกิจ
บทที่ 4 โครงสร้างพื้นฐาน
บทที่ 5 การพัฒนาจังหวัด
|
ภูมิปัญญา และ แหล่งเรียนรู้
วัดฉลอง
วัดฉลอง หรือ วัดไชยธาราราม เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป จากเรื่องราว ความศักดิ์สิทธิ์ และคุณความดี ของ หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง ในการเป็นที่พึ่ง ให้แก่ชาวบ้าน ในการต่อสู้กับพวกอั้งยี่ (พวกจีนที่ก่อการกบฏ) ทั้งนี้ขอเล่าย้อนให้ฟังกันเลยแล้วกันนะ คือหลวงพ่อท่านได้มอบ ผ้าประเจียดสีขาว ให้ชาวบ้านทุกคนโพกหัว เพื่อเป็นขวัญ และกำลังใจ ในการต่อสู้ จนชนะพวกอั้งยี่ได้ (ตอนนั้นพวกอั้งยี่เรียกชาวบ้านว่า "พวกหัวขาว") ภายหลังรัชกาลที่ 5 จึงโปรดเกล้าพระราชทาน สมณะศักดิ์แก่หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง เป็น พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี
อควาเรี่ยมภูเก็ต
ยกย่องให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตต้นแบบในจำนวน 31 แห่งทั่วประเทศ จากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา นางนิศากร โฆษิตรัตน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้จัดทำโครงการวิจัย เพื่อพัฒนานโยบายส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยดำเนินการสรรหาและยกย่องแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตต้นแบบที่จัดกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นต้นแบบให้แหล่งการเรียนรู้อื่น ๆ ได้ศึกษาแลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาในการเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สมบูรณ์ด้านต่างๆและเป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตต้นแบบให้แก่ผู้เรียนในระบบ ผู้เรียนนอกระบบ และผู้เรียนตามอัธยาศัยใน 4 ภูมิภาค
ท่าอากาศยาน
สนามบิน หรือ ท่าอากาศยาน เป็นสถานที่สำหรับเครื่องบินนำเครื่องขึ้นและลงจอด ส่วนประกอบของท่าอากาศยานอย่างน้อยต้องมีลู่ทางวิ่ง(รันเวย์)และอาจมีทางขับ (แท๊กซี่เวย์)สำหรับเครื่องบินตามความจำเป็น และโดยทั่วไปจะประกอบด้วยตัวอาคาร หรือที่เรียกว่า เทอร์มินอล นอกจากนี้ท่าอากาศยานพาณิชย์มักจะประกอบไปด้วยหน่วยงานควบคุมการจราจรทางอากาศ ( air traffic control) และสิ่งอำนวยความสะดวกต่อผู้โดยสาร ได้แก่ร้านอาหารและร้านขายของ สำหรับท่าอากาศยานทหาร นิยมใช้คำเรียกว่า สนามบิน(แอร์ฟิลด์)หรือ ฐานบิน (แอร์เบส) สำหรับสนามบินขนาดใหญ่สนามบินพาณิชย์ คือ สนามบินที่เปิดใช้เพื่อการรับ ส่งผู้โดยสาร รวมถึงการรับส่งสินค้าต่างๆ โดยที่กล่าวมานี้ ไม่ได้เป็นสนามบินของทหาร
แหลมพรหมเทพ
แหลมพรหมเทพ อยู่ห่างจากหาดราไวประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นแหลมที่อยู่-ตอนใต้สุดของเกาะภูเก็ต ชาวบ้านเรียกว่าแหลมเจ้า บริเวณแหลมพรหมเทพ เป็นส่วนที่สวยงามที่สุดส่วนหนึ่งของเกาะ-ภูเก็ต เหนือแหลมพรหมเทพเป็นที่ราบสำ หรับจอดรถ ซึ่งอยู่บนหน้าผาสูงริม-ทะเล จากหน้าผานี้จะมองเห็นแหลม-พรหมเทพ ทอดยาวออกไปในทะเล ทะเลจะเห็นเกาะหลายเกาะ รวมทั้งเกาะแก้วพิสดารทางด้านขวามือจะเห็นแนว หาดทรายของหาดในหานชัดเจน จากบนหน้าผามีทางเดินลงเขาไปจนถึงสุดแหลมพรหมเทพได้ เป็นสถานที่ชม พระอาทิตย์ตกได้งดงามยิ่งนัก
สวนผีเสื้อ
สวนผีเสื้อและโลกแมลงภูเก็ตเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์วิทยาภายใต้สภาวะจำลองป่าเขตร้อน ประกอบด้วย น้ำตกจำลอง พันธ์ไม้ สำหรับเป็นที่วางไข่ ของผีเสื้อ และพืชอาหาร ของตัวหนอน จัดนิทรรศการ วงจรชีวิตของผีเสื้อ ฯลฯที่นี่มีผีเสื้อประมาณ 40 พันธุ์ ส่วนใหญ่ จะเป็นผีเสื้อในท้องถิ่น ซึ่งได้มาจากการเพาะเลี้ยง การเก็บไข่ผีเสื้อ ตัวหนอน ดักแด้ซึ่งจำนวนผีเสื้อเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับฤดูกาลดังนี้การเข้าชมแต่ครั้งจะได้เห็นผีเสื้อพันธ์หลากหลายที่แตกต่างกัน
พิพิธภัณฑ์เปลือกหอย
เพลินเพลินกับการชมเปลือกหอย นานาชนิด ทั้งหอยเบี้ย หอยกาบ หอยมือเสือ ฯลฯ อีกทั้งเปลือกหอยหายาก และฟอสซิลหอยอายุหลายพันปีและหอยมุกสีชมพูภายในมีการจัดแสดงอย่างเป็นระเบียบและมีคำอธิบายง่ายต่อการทำความเข้าใจ และยังมีของที่ระลึก เกี่ยวกับเปลือกหอย สวยๆงามๆ จำหน่ายอีกด้วย
เขาพระแทว
ป่าเขาพระแทวมีพื้นที่ทั้งหมด 13,925 ไร่ หรือ 22.28 ตารางกิโลเมตร อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 384 เมตร อยู่ในพื้นที่ ตำบลเทพกระษัตรี ตำบลศรีสุนทร และตำบลป่าคลอก ในอำเภอถลาง กรมป่าไม้ได้ประกาศเขาพระแทวให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า เมื่อวันที่ 8 กรกฏาคม 2523 ป่าเขาพระแทวเป็นป่าดิบชื้นอุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด โดยเฉพาะ มีการค้นพบพันธุ์ปาล์มที่หายากชนิดหนึ่งเรียกว่า ปาล์มเจ้าเมืองถลาง หรือ ปาล์มหลังขาว และนอกจากนั้นยังมีสัตว์ป่าหลายชนิด อาทิ ชะนี ค่าง ลิง เก้ง กวาง หมี หมูป่า กระรอก กระจง นกนานาชนิด นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญของภูเก็ต
อุทยานแห่งชาติศิรินาถ
ได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2524 อยู่ห่างจากตัวเมือง 30 กิโลเมตร ตามเส้นทางถนนเทพกษัตรี ผ่านสี่แยกอำเภอถลาง ตรงไปเมื่อถึงหลักกิโลเมตร 21-22 จะมีทางแยกด้านซ้ายเข้าไป 10 กิโลเมตร หรือจะไปทางแยกเข้าสนามบินเลี้ยวซ้าย 2 กิโลเมตร ครอบคลุมเนื้อที่ 56,250 ไร่ เป็นหาดทรายที่มีความยาวต่อเนื่องกันถึง 13 กิโลเมตร
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติถลาง
พิพิธภัณฑ์จะนำเอาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และข้อมูลกว้างๆ เกี่ยวกับท้องถิ่นในภาคใต้ โดยเฉพาะเรื่องราวของภูเก็ต และจังหวัดใกล้เคียง มาแสดงให้ดู เช่น แผนที่ เครื่องสำริด เครื่องปั้นดินเผา และเครื่องประดับลูกปัดหินและแก้ว
ชิโน-โปรตุกิส
สถาปัตยกรรมที่ผสมผสาน ศิลปวัฒนธรรม ความเป็นอยู่และความเชื่อเรื่องโชคลาภ ที่เรียกว่า ชิโน-โปรตุกิส ( Sino-Portuguese) สำหรับลักษณะของอาคาร นั้น เกิดจากการผสมผสานศิลปวัฒนธรรม และความเป็นอยู่ของชาวเมืองภูเก็ตในอดีตที่มีหลากหลายเชื่อชาติรวมไปถึงความเชื่อเรื่องโชคลางของธรรมเนียมแบบจีนโบราณ ซึ่งยังคงมีความเชื่อจวบจนทุกวันนี้ ดังนั้นจึงทำให้เกิดเป็นการผสมผสานงานสถาปัตยกรรมที่ตอบสนองการดำรงชีวิตของคนท้องถิ่น และไปถึงเทคโนโลยีในการก่อสร้างสมัยต้นยุคกรุงรัตนโกสินทร์เข้าด้วยกัน
หมายเหตุ : สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต โทร : 0 7622 3617
|