การพัฒนาจังหวัด
จากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของจังหวัดภูเก็ตทั้งในส่วนของการลงทุนภาคเอกชนในการพัฒนา
อสังหาริมทรัพย์และจำนวนนักท่องเที่ยวที่นิยมเดินทางเข้ามายังจังหวัดภูเก็ตอย่างต่อเนื่องทุกปีรวมทั้งการเคลื่อน
ย้ายประชากรเข้ามาทำงานในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งได้นำมาซึ่งปัญหาทั้งด้านสังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องมาจากภาคธุรกิจการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นเศรษฐกิจหลักของจังหวัด สรุปตามลำดับดังนี้
ปัญหา/อุปสรรคและความต้องการ
1. ด้านเศรษฐกิจ
1.1 ปัญหาด้านคุณภาพและความพร้อมของบริการพื้นฐานและความแออัดด้านจราจร เช่น
- ความเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคม
- ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต
- ระบบขนส่งสาธารณะ
1.2 ปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภคโดยเฉพาะ ในฤดูการท่องเที่ยว
1.3 รายได้และเศรษฐกิจหลักของจังหวัดยังผูกขาดเฉพาะในภาคธุรกิจเพียงอย่างเดียว ยังขาดการเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจอื่น ๆ
1.4 ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการท่องเที่ยวทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
แนวทางแก้ไข
1. พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายคมนาคมโดยเฉพาะในเส้นทางหลักและรอง และปรับโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคให้มีมาตรฐานเพียงพอต่อความต้องการ เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของการเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลก และลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ
2. พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกและรองรับการขยายตัวทางด้านการท่องเที่ยวให้สามารถ
รองรับจำนวนนักท่องเที่ยว ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นในแต่ละปี
3. พัฒนาแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคให้เพียงพอต่อปริมาณการใช้น้ำ
4. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องผสมผสานแนวปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและพัฒนาเครือข่าย
วิสาหกิจชุมชน เชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิตในทุกภาคการผลิตและทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชุมชน ระดับวิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างฐานการผลิตอย่างยั่งยืนและเป็นทางเลือกในการประกอบอาชีพ
5. เร่งรัดผลิตบุคลากรด้านการท่องเที่ยวและบริการ การพัฒนาทักษะ ให้ตรงความต้องการของตลาดแรงงานในพื้นที่
2. ด้านสังคม
2.1 ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด
2.2 ปัญหาการเจริญเติบโตของเมือง/ชุมชนและการขยายตัวของธุรกิจด้านการท่องเที่ยวและที่เกี่ยวเนื่อง
2.3 ปัญหาประชากรต่างถิ่นและแรงงานต่างด้าว
แนวทางแก้ไข
1. ส่งเสริมการใช้กระบวนการชุมชนเข้มแข็งในการแก้ไขปัญหาทางสังคม
2.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน/ผู้ประกอบการและภาคเอกชนในการรักษาความสงบเรียบร้อยของชุมชน/หมู่บ้าน
และให้การดูแลรักษาความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว
3. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3.1 ปัญหาความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมและความสมบูรณ์ตามธรรมชาติของแหล่งท่องเที่ยว
3.2 ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ทำในส่วนของป่าสงวน ชายหาดและป่าชายเลน
3.3 ปัญหาการขยะมูลฝอยและน้ำเสียจากชุมชน
แนวทางแก้ไข
1. ส่งเสริมความร่วมมือกับทุกภาคีการพัฒนา รวมทั้งการกำหนดมาตรการกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ชายหาด/ทะเล) ซึ่งเป็นสินค้าหลักของจังหวัดให้คงสภาพความสมบูรณ์ตามธรรมชาติอย่างยั่งยืน เพื่อยกระดับในเชิงคุณภาพ
2. สนับสนุนทุกภาคีการพัฒนาให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน รวมทั้งการนำระเบียบข้อกฎหมายมาบังคับใช้อย่างเข้มงวดในการบริหารจัดการที่ดินของรัฐ เพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการบุกรุกที่ดินของรัฐและลดข้อพิพาทเกี่ยวกับแนวเขตที่ดินของรัฐ
4. ด้านความมั่นคง
4.1 ปัญหาความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน
4.2 ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ
4.3 ปัญหาการเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว
แนวทางแก้ไข
1. สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/ภาคเอกชน/อาสาสมัคร/ชุมชนและภาคประชาชนในการป้องกันสาธารณภัย โดยเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเป็นเครือข่ายการบริหารจัดการสาธารณภัยในทุกขั้นตอน
2. สนับสนุนกระบวนการชุมชนเข้มแข็ง/ภาคเอกชนผู้ประกอบการ/ประชาชน มีส่วนร่วมในการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว
5. ด้านการบริหารจัดการ
5.1 ปัญหาข้อจำกัดในการบังคับใช้กฎหมายต่อการพัฒนาพื้นที่
5.2 ปัญหาความมีเอกภาพและประสิทธิภาพของกลไกในการบริหารจัดการภาครัฐในการดำเนินงานร่วมกันในเชิงบูรณาการ การมองทิศทางการพัฒนาจังหวัดภูเก็ตในภาพรวม
แนวทางแก้ไข
1. ส่งเสริมให้มีการขับเคลื่อนการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาของจังหวัด โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
2. สนับสนุนส่งเสริมให้มีการปรับปรุงแก้ไขระเบียบข้อกฎหมายให้เอื้ออำนวยต่อการดำเนินงานในพื้นที่ เพื่อให้จังหวัดมีความคล่องตัว เกิดเอกภาพ สามารถดำเนินการตามแผนพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพ
|