บทที่ 1 สภาพทั่วไปของจังหวัด
ความเป็นมา
ขนาดพี้นที่และเขตการปกครอง
ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ
การปกครอง ประชากร
การประกอบอาชีพ
การเลือกตั้ง
สมาชิกวุฒิสภา
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
การเลือกตั้งท้องถิ่น
การออกเสียงประชามติ
บทที่ 2 ด้านสังคม
การศึกษา การสาธารณสุข
ศาสนา
ยาเสพติด
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
สวัสดิการสังคม
แรงงานต่างด้าวในจังหวัดภูเก็ต สาธารณภัย
ภูมิปัญญาและแหล่งเรียนรู้
บทที่ 3 สภาพทางเศรษฐกิจ
ภาวะเศรษฐกิจการค้า
แนวโน้มการท่องเที่ยวในช่วงกลางปี 2553
ด้านแรงงาน
ด้านอุตสาหกรรม
ชุมชนและการรวมกลุ่ม
เกษตรกร
การเกษตรกรรม
โครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว
บทที่ 4 โครงสร้างพื้นฐาน
คมนาคมและโครงสร้างพื้นฐาน
ป่าไม้
การชลประทาน
โครงการโครงสร้างพื้นฐาน
บทที่ 5 การพัฒนาจังหวัด
ปัญหาและความต้องการ
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
กรอบการดำเนินงาน
ทิศทางการพัฒนา
ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
ยุทธศาสตร์ที่ 1
ยุทธศาสตร์ที่ 2
ยุทธศาสตร์ที่ 3
ยุทธศาสตร์ที่ 4
โครงการและงบประมาณ 2553
สารบัญ
บทที่ 1 สภาพทั่วไปของจังหวัด
บทที่ 2 ด้านสังคม
บทที่ 3 สภาพทางเศรษฐกิจ
บทที่ 4 โครงสร้างพื้นฐาน
บทที่ 5 การพัฒนาจังหวัด
|
ด้านแรงงาน
สถานการณ์กำลังแรงงานและการมีงานทำ
อัตราผู้อยู่ในวัยแรงงานของจังหวัดภูเก็ต ปี 255 3 คิดเป็นร้อยละ 68 . 09 ของจำนวนประชากรทั้งหมด โดยมีจำนวนกำลังแรงงานเพียง 1 61, 3 31 คน เป็นผู้มีงานทำ 15 8, 4 31 คน หรือร้อยละ 98.2 ของกำลังแรงงานและทำงานนอกภาคเกษตรกรรมถึงร้อยละ 96.8 ส่วนใหญ่ทำงานในสาขาบริการ ประเภทโรงแรมและภัตตาคาร รองลงมาคือ สาขาการขายส่ง การขายปลีก ฯ และสาขาการก่อสร้าง ซึ่งเมื่อเทียบกับความเป็นจังหวัดท่องเที่ยวแล้ว ถือว่าจำนวนกำลังแรงงานยังมีน้อย เนื่องจากภาคธุรกิจท่องเที่ยวเป็นภาคธุรกิจสำคัญ ที่มีความต้องการแรงงานมาก โดยเฉพาะในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว นอกจากนี้จังหวัดภูเก็ตมีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ วันละ 204 บาท สูงเป็นอันดับหนึ่งในภาคใต้ ทำให้เกิดปัญหาแรงงานต่างถิ่นหลั่งไหลเข้ามาทำงานในจังหวัดภูเก็ต เป็นจำนวนมาก รวมไปถึงแรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้จากจำนวนประชากร 296, 8 63 คน คาดประมาณการกันว่ามีประชากรแอบแฝงในจังหวัดสูงถึง 40 % ของประชากรที่ลงทะเบียน
อัตราการว่างงานจากผลสำรวจของสำนักงานสถิติจังหวัดภูเก็ต ร้อยละ 1.80 ของกำลังแรงงานรวมหรือประมาณ 2,900 คน สาเหตุการว่างงาน ส่วนใหญ่มาจากการไม่พอใจในตำแหน่งงานว่างที่มีอยู่ต้องการเปลี่ยนงานที่มีรายได้และสวัสดิการดีกว่า หรือรอเลือกตำแหน่งงานที่ตรงกับความต้องการของตนเอง
การประกันสังคม
สถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคม จำนวน 8,490 แห่ง ผู้ประกันตน 128,403 ราย ส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง มีสถานพยาบาลในเครือข่ายประกันสังคม 3 แห่งประเภทที่ผู้ประกันตนใช้บริการสูงสุดได้แก่ กรณีสงเคราะห์บุตร รองลงมาคือ กรณีประสบอันตราย เจ็บป่วย และกรณีว่างงาน ตามลำดับ สำหรับประเภทที่มีผู้มาใช้บริการน้อยที่สุด คือ กรณีตาย
การแรงงานสัมพันธ์
จังหวัดภูเก็ต มีองค์กรนายจ้าง จำนวน 14 แห่ง เป็นสมาคมนายจ้างทั้งหมด และมีองค์กรลูกจ้าง จำนวน 20 แห่ง เป็นสหภาพแรงงาน 19 แห่ง สหพันธ์แรงงาน 1 แห่ง ส่งเสริมเรื่องแรงงานสัมพันธ์และให้บริการด้านสวัสดิการแรงงาน เช่น การจัดกิจกรรมวันแรงงานแห่งชาติ การประกวดสถานประกอบกิจการดีเด่น สถานประกอบกิจการสีขาว เป็นต้น
การบริการจัดหางาน
จัดบริการจัดหางานในประเทศ ทั้งบริการจัดหางาน ณ สำนักงาน และจัดนัดพบแรงงาน จากข้อมูลไตรมาสที่ 4 (ต.ค.52 ธ.ค.52) มีนายจ้างแจ้งตำแหน่งงานว่าง จำนวน 2,408 อัตรา ตำแหน่งงานว่างที่นายจ้างต้องการมากที่สุด ได้แก่ พนักงานบริการ พนักงานขายของในร้านและตลาด เสมียนเจ้าหน้าที่วุฒิการศึกษาที่ต้องการมากที่สุดคือ ระดับมัธยมศึกษา ปริญญาตรี และ ปวช. ตามลำดับ มีผู้ลงทะเบียนสมัครงาน 1,128 คน ส่วนใหญ่จบมัธยมศึกษารองลงมาเป็นระดับปริญญาตรี โดยงานที่ผู้สมัครต้องการมากที่สุด ได้แก่ พนักงานบริการ พนักงานขายของในร้านและตลาดเสมียนเจ้าหน้าที่
อัตราการประสบอันตราย
ลูกจ้างที่ประสบอันตราย ตั้งแต่เดือนมกราคม ธันวาคม 2552 เท่ากับ 1,495 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.35 (จากยอดลูกจ้าง) โดยประเภทกิจการที่ประสบอันตรายมากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นกิจการก่อสร้าง สาเหตุจากนายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานเรื่องการสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
หมายเหตุ : สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานแรงงานจังหวัดภูเก็ต โทร 0 7635 4035-6 หรือ http://phuket.mol.go.th/
|