Untitled Document
บรรยายสรุปจังหวัดภูเก็ต
บรรยายสรุปจังหวัดภูเก็ต

บทที่ 1 สภาพทั่วไปของจังหวัด
  ความเป็นมา
  ขนาดพี้นที่และเขตการปกครอง
  ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ
  การปกครอง ประชากร
  การประกอบอาชีพ
  การเลือกตั้ง
         
 สมาชิกวุฒิสภา
          สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

          
การเลือกตั้งท้องถิ่น
          การออกเสียงประชามติ


บทที่ 2 ด้านสังคม
  การศึกษา การสาธารณสุข
  ศาสนา
  ยาเสพติด
  ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
  สวัสดิการสังคม
  แรงงานต่างด้าวในจังหวัดภูเก็ต    สาธารณภัย
  ภูมิปัญญาและแหล่งเรียนรู้

บทที่ 3 สภาพทางเศรษฐกิจ
 
ภาวะเศรษฐกิจการค้า
   แนวโน้มการท่องเที่ยวในช่วงกลางปี 2553
  ด้านแรงงาน
  ด้านอุตสาหกรรม
   ชุมชนและการรวมกลุ่ม
   เกษตรกร
  การเกษตรกรรม
  โครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว
 
บทที่ 4 โครงสร้างพื้นฐาน
   คมนาคมและโครงสร้างพื้นฐาน
   ป่าไม้
   การชลประทาน
   โครงการโครงสร้างพื้นฐาน

บทที่ 5 การพัฒนาจังหวัด
   ปัญหาและความต้องการ
   การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม 
   กรอบการดำเนินงาน
  ทิศทางการพัฒนา
   ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
   ยุทธศาสตร์ที่ 1
   ยุทธศาสตร์ที่ 2
   ยุทธศาสตร์ที่ 3
   ยุทธศาสตร์ที่ 4  
   โครงการและงบประมาณ 2553

    

 สารบัญ
 
บทที่ 1 สภาพทั่วไปของจังหวัด
 บทที่ 2 ด้านสังคม
 บทที่ 3 สภาพทางเศรษฐกิจ
 บทที่ 4 โครงสร้างพื้นฐาน
 บทที่ 5 การพัฒนาจังหวัด

สาธารณภัย

การป้องกันอุบัติเหตุ
        
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ต   ได้ดำเนินงานด้านการป้องกันลดอุบัติเหตุทางถนนและทางทะเลช่วงเทศกาลปีใหม่   โดยบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐ     ภาคเอกชน   และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น   ซึ่งในช่วงเทศกาลปีใหม่นั้น   มีวันหยุดต่อเนื่องกันหลายวัน   เนื่องจากประชาชนนิยมเดินทางกลับภูมิลำเนา   และมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยชาวต่างชาติ   เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆเป็นจำนวนมาก   การเดินทางส่วนใหญ่   จะใช้รถยนต์เป็นพาหนะในการเดินทาง   ทำให้ปริมาณด้านการจราจรหนาแน่นเพิ่มขึ้น   การจราจรติดขัด   เป็นปัจจัยก่อให้เกิดอุบัติเหตุตามมา   ส่งผลทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก   มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตมากขึ้นกว่าช่วงปกติ   ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม   ซึ่งในช่วงระหว่างปี 2551-2553 ได้มีจำนวนของการเกิดอุบัติเหตุขึ้นในช่วงเทศกาลปีใหม่ ดังนี้

                       ตารางที่ 10 แสดงสถิติอุบัติเหตุทางถนนเทศกาลปีใหม่  2551 – 2553

เทศกาล

จำนวนครั้งที่เกิดอุบัติเหตุ

ผู้บาดเจ็บ

ผู้เสียชีวิต

ปีใหม่  2551

72

76

7

ปีใหม่  2552

58

58

3

ปีใหม่  2553

86

92

8

การป้องกันอุบัติภัย
        การป้องกันอุบัติภัย   คณะรัฐมนตรีได้กำหนดให้วันที่   26  ธันวาคม   ของทุกปีเป็นวันป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ   เนื่องจากเป็นวันที่เกิดภัยพิบัติอย่างรุนแรงที่สุดของประเทศ   ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนทั้งในประเทศ   และนานาชาติเป็นจำนวนมาก   ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญในการที่จะได้รณรงค์เสริมสร้างความตระหนัก   และสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัย   (Safety  Mint)  ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสูญเสียจากภัยพิบัติ   ทั้งที่ภัยเกิดจากธรรมชาติ   และจากการกระทำของมนุษย์   เพื่อก่อให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัย   (Safety  Mint)  ของประชาชน   สร้างความตระหนักให้ประชาชนรู้จักการป้องกันตนเองให้พ้นจากภัย   การเตรียมความพร้อมของชุมชนในการรับภัยพิบัติ   ตลอดทั้งผลกระทบของภัยที่อาจเกิดขึ้น

ภัยแล้ง
        ด้วยลักษณะอากาศของจะจังหวัดภูเก็ต   ตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน ของทุกปี จะมีความแห้งแล้งและอุณหภูมิสูงขึ้น พร้อมทั้งมีปริมาณฝนอยู่ในเกณฑ์ที่น้อยกว่าปกติ ทำให้บางพื้นที่ต้องประสบกับความแห้งแล้งและขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคเป็นจำนวนมาก   อีกทั้งจังหวัดภูเก็ตมีลักษณะเป็นเกาะ ไม่มีแม่น้ำสายหลัก มีเพียงคลองบางใหญ่ซึ่งเป็นคลองน้ำคลองเดียว   ฉะนั้นการใช้น้ำนอกจากใช้ในคลองบางใหญ่   ได้ใช้จากสระน้ำ   ขุมเหมือง และเขื่อนบางวาดเป็นหลัก   ที่มีอยู่อาจไม่เพียงพอในการนำมาใช้        

        
ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมการป้องกันปัญหาความแห้งแล้งรวมทั้งช่วยเหลือและบรรเทาความ
เดือนร้อนให้แก่ผู้ประสบภัย   จึงได้จัดทำแผนเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งจังหวัดภูเก็ตขึ้น เพื่อเป็นองค์กรหลักในการอำนวยการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง   และเฝ้าติดตามตลอดสถานการณ์ 24 ชั่วโมงในด้านการเตรียมการได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งจังหวัดภูเก็ต ปี   2553
ณ   สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ต โดยทางสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ต  ร่วมกับที่ทำการปกครองอำเภอทุกอำเภอ   องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น   จัดทำข้อมูลพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยแล้งโดยใช้ฐานข้อมูลเกิดภัยแล้งในปีที่ผ่านมา   โดยระบุรายละเอียดของพื้นที่         ที่จำเป็นต่อการวิเคราะห์ความรุนแรงของภัย   เช่น   ชื่อชุมชน   หมู่บ้าน   ตำบล   จำนวนครัวเรือน    จำนวนประชากร   ภาชนะกักเก็บน้ำ   ระบบประปาท้องถิ่น   บ่อน้ำตื่น   บ่อบาดาล   ให้อยู่ในสภาที่ใช้การได้   พร้อมทั้งจัดการบัญชีไว้เพื่อใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ   และได้จัดทำหนังสือแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแผนเฉพาะกิจต่อไป

การช่วยเหลือผู้ประสบภัยและการปฏิบัติเมื่อเกิดภัย
      1. เมื่อได้รับแจ้งขอความช่วยเหลือ 
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกแจกจ่ายน้ำเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนในพื้นที่ประสบภัยแล้ง  ที่ได้รับแจ้งโดยแจกจ่ายตามจุดช่วยเหลือแจกจ่ายน้ำ  และรถยนต์ลำเลียงน้ำ  หรือเครื่องสูบน้ำของหน่วยงาน  พิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย  โดยใช้งบปกติของหน่วยงาน  หรือตามข้อบัญญัติงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  และตามระเบียบกรระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน  พ.ศ.2546  และแก้ไขเพิ่มเติมทุกระดับโดยด่วน
     2. ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฯจังหวัด  รายงานสถานการณ์ภัยแล้ง  และการให้ความช่วยเหลือที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้กระทรวงมหาดไทยทราบ  โดยผ่านกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  ทุกวันพฤหัสบดี  จนกว่าสถานการณ์จะปกติ


 

                                                              

จัดทำโดย: กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดภูเก็ต    โทรศัพท์ 076 360700 ต่อ 68052