บทที่ 1 สภาพทั่วไปของจังหวัด
ความเป็นมา
ขนาดพี้นที่และเขตการปกครอง
ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ
การปกครอง ประชากร
การประกอบอาชีพ
การเลือกตั้ง
สมาชิกวุฒิสภา
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
การเลือกตั้งท้องถิ่น
การออกเสียงประชามติ
บทที่ 2 ด้านสังคม
การศึกษา การสาธารณสุข
ศาสนา
ยาเสพติด
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
สวัสดิการสังคม
แรงงานต่างด้าวในจังหวัดภูเก็ต สาธารณภัย
ภูมิปัญญาและแหล่งเรียนรู้
บทที่ 3 สภาพทางเศรษฐกิจ
ภาวะเศรษฐกิจการค้า
แนวโน้มการท่องเที่ยวในช่วงกลางปี 2553
ด้านแรงงาน
ด้านอุตสาหกรรม
ชุมชนและการรวมกลุ่ม
เกษตรกร
การเกษตรกรรม
โครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว
บทที่ 4 โครงสร้างพื้นฐาน
คมนาคมและโครงสร้างพื้นฐาน
ป่าไม้
การชลประทาน
โครงการโครงสร้างพื้นฐาน
บทที่ 5 การพัฒนาจังหวัด
ปัญหาและความต้องการ
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
กรอบการดำเนินงาน
ทิศทางการพัฒนา
ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
ยุทธศาสตร์ที่ 1
ยุทธศาสตร์ที่ 2
ยุทธศาสตร์ที่ 3
ยุทธศาสตร์ที่ 4
โครงการและงบประมาณ 2553
สารบัญ
บทที่ 1 สภาพทั่วไปของจังหวัด
บทที่ 2 ด้านสังคม
บทที่ 3 สภาพทางเศรษฐกิจ
บทที่ 4 โครงสร้างพื้นฐาน
บทที่ 5 การพัฒนาจังหวัด
|
การประกอบอาชีพ
จากการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานระดับจังหวัด (จปฐ.2 ) ปี 2552 ประชากรและครัวเรือนส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป รองลงมา ประกอบอาชีพค้าขาย และ ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว(ให้บริการ) ตามลำดับ ดังแสดงในตารางที่ 3-4
ตารางที่ 3 แสดงการประกอบอาขีพของประชากรในจังหวัดภูเก็ต
อาชีพ |
จำนวนเพศชาย
(คน) |
จำนวนเพศหญิง
(คน) |
จำนวนรวม
(คน) |
ไม่มีอาชีพ |
1,924 |
2,310 |
4,234 |
นักเรียน |
5,784 |
5,468 |
11,252 |
นักศึกษา |
748 |
927 |
1,675 |
ทำนา |
6 |
4 |
10 |
ทำไร |
16 |
5 |
21 |
ทำสวน |
890 |
542 |
1,432 |
ประมง |
551 |
230 |
781 |
ปศุสัตว์ |
6 |
5 |
11 |
รับราชการ |
756 |
603 |
1,359 |
พนักงานรัฐวิสาหกิจ |
244 |
194 |
438 |
พนักงานบริษัท |
1,626 |
1,842 |
3,468 |
รับจ้างทั่วไป |
20,310 |
18,745 |
39,055 |
ค้าขาย |
2,814 |
3,929 |
6,743 |
ธุรกิจส่วนตัว |
2,323 |
1,943 |
4,266 |
อื่นๆระบุ |
7,078 |
9,489 |
16,567 |
รวมทั้งหมด |
45,076 |
46,236 |
91,312 |
หมายเหตุ : จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่จริงจากจำนวนสำรวจนี้ อาจไม่เท่ากับจำนวนประชากรที่มีอยู่ในทะเบียนบ้านได้
ที่มา : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดภูเก็ต
ตารางที่ 4 จำนวนครัวเรือนแยกตามอาชีพ ปี 2552 (ข้อมูล กชช.2ค จังหวัดภูเก็ต)
ลำดับที่ |
อาชีพ |
จำนวนครัวเรือน(ครัวเรือน) |
1 |
ไม่ระบุ |
15,885 |
2 |
การประมง |
756 |
3 |
รับจ้าง |
34,908 |
4 |
อื่นๆ (ค้าขาย) |
5,708 |
5 |
รายได้จากสถานที่ท่องเที่ยว |
3,104 |
6 |
ทำสวน |
1,384 |
7 |
อื่นๆ (ทำนาทำไร่) |
27 |
8 |
อื่นๆ (รับราชการวิสาหกิจ) |
1,662 |
9 |
เลี้ยงสัตว์อื่นๆ เพื่อขาย |
11 |
10 |
อื่นๆ (เกษตรกรรม / ค้าขาย /อุตสาหกรรม/ อื่นๆ) |
2,800 |
|
รวม |
66,245 |
ที่มา : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดภูเก็ต หมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว
จังหวัดภูเก็ต มีหมู่บ้านการท่องเที่ยวที่โดดเด่น และได้รับการคัดเลือกให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวโอทอป หรือ OVC ( OTOP Village Champion ) ประเภทการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ( Eco Tourism ) เมื่อปี 2550 ได้แก่ บ้านบางโรง หมู่ที่ 3 ตำบลป่าคลอก อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ซึ่งมีลักษณะโดดเด่น ดังนี้
1) เป็นหมู่บ้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์
2) มีการอนุรักษ์ป่าชายเลน
3) มีการผลิตสินค้าชุมชน
4) แผนชุมชนดีเด่น
หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนต้นแบบ
หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ปีงบประมาณ 2551 บ้านนากก ต.ฉลอง อ.เมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต หมู่บ้านแห่งนี้
โดดเด่นในด้านศูนย์เรียนรู้ชุมชนดีเด่น การป้องกันยาเสพติดต้นแบบ Pavarana Model และมีศูนย์เยาวชนดีเด่น ซึ่ง มีกิจกรรมที่ดำเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นจุดเรียนรู้ของชุมชน ประกอบด้วย
1) จุดเรียนรู้ศิลปะมวยไทยสู่สากล ซึ่งชุมชนได้สนับสนุนให้เยาวชนในชุมชนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยการสนับสนุนให้ฝึกซ้อมศิลปะมวยไทย ทั้งหญิง-ชาย และเปิดกว้างให้ชาวต่างประเทศที่มีความสนใจได้เข้าฝึกซ้อมในค่ายดังกล่าวด้วย
2) จุดเรียนรู้ผักสวนครัวชุมชน เนื่องจากบ้านนากก อาชีพดั่งเดิมของคนในชุมชนประกอบอาชีพด้านการปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อจำหน่ายเป็นอาชีพเสริมอยู่แล้ว จึงทำให้มีประชากรบางส่วนปัจจุบันยังมีการประกอบอาชีพด้านการปลูกผักเพื่อจำหน่าย โดยชุมชนได้มีการจัดตลาดชุมชนทำให้กลุ่มผู้ผลิตผักสวนครัวมีตลาดจำหน่ายในชุมชน
3) จุดเรียนรู้ครัวเรือนเศรษฐกิจพอเพียงตัวอย่าง โดยบ้านนากก ได้มีการพิจารณาคัดเลือกครัวเรือนที่ดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตัวอย่าง ชื่อ นายวิโรจน์ แกล้วณรงค์ ซึ่งตลอดชีวิตของนายวิโรจน์ แกล้วณรงค์ ซึ่งประกอบอาชีพด้านการเกษตรมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ และปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีสมัยมาพัฒนาภูมิปัญญาด้านการเก็บกักและนำน้ำจากธรรมชาติมาใช้ในการเกษตร โดยการใช้ระบบการทดน้ำจากภูเขามาใช้
4) จุดเรียนรู้ศูนย์ท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ โดยเอกชนได้เข้ามาร่วมกับชุมชน ในการจัดระบบการดำรงชีวิตของชุมชน เพื่อให้นักท่องเที่ยวที่มีความสนใจในวิถีการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน ได้มาศึกษา ทำให้ชุมชนมีรายได้เสริมในด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ของชุมชน
5) จุดเรียนรู้เรื่องน้ำดื่ม เนื่องจากในชุมชนมีแหล่งสะอาด ที่สามารถนำมาผลิตน้ำดื่มเพื่อการบริโภคในชุมชน และจำหน่ายโดยทั่วไป ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ชุมชนสามารถนำมาเป็นรายได้ของชุมชน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ตามยุทธศาสตร์อยู่ดี มีสุขของจังหวัด
6) จุดเรียนรู้ตลาดชุมชน เนื่องจากทำเลที่ตั้งของหมู่บ้านเป็นทางผ่านไปสถานที่ท่องเที่ยว และเนื่องจากในชุมชนได้มีการสนับสนุนให้มีการให้ความรู้ด้านศิลปะมวยไทยของชุมชน ซึ่งทำให้มีนัท่องเที่ยวที่มีความสนใจเข้ามาในหมู่บ้านมากมาย ดังนั้น ทางผู้นำชุมชนจึงได้มีการจัดตลาดลานค้าชุมชนขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้นำผลิตภัณฑ์ภายในชุมชนมาจำหน่าย ซึ่งต่อมาจึงได้มีการขยายผลทำให้มีสินค้าที่เข้ามาจำหน่ายในชุมชนหลากหลาย และใน 1 สัปดาห์ ได้มีการจำหน่ายสินค้า 3 วัน คือ วันอังคาร , วันพฤหัส และวันเสาร์
7) จุดเรียนรู้ป่าชุมชน เนื่องส่วนหนึ่งของบ้านนากกมีเขตติดต่อกับป่าเขานาคเกิด ซึ่งติดต่อกับอำเภอกะทู้ และเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเพื่อเป็นการอนุรักษ์แหล่งต้นน้ำ ชุมชนจึงได้มีการอนุรักษ์ป่าของชุมชน และเพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของชุมชน และเพื่อทำให้ชุมชนและป่าอยู่ร่วมกันได้ในโอกาศต่อไป
หมายเหตุ : สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดภูเก็ต โทร 0 7621 1584
|