Untitled Document
บรรยายสรุปจังหวัดภูเก็ต
บรรยายสรุปจังหวัดภูเก็ต

บทที่ 1 สภาพทั่วไปของจังหวัด
  ความเป็นมา
  ขนาดพี้นที่และเขตการปกครอง
  ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ
  การปกครอง ประชากร
  การประกอบอาชีพ
  การเลือกตั้ง
         
 สมาชิกวุฒิสภา
          สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

          
การเลือกตั้งท้องถิ่น
          การออกเสียงประชามติ


บทที่ 2 ด้านสังคม
  การศึกษา การสาธารณสุข
  ศาสนา
  ยาเสพติด
  ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
  สวัสดิการสังคม
  แรงงานต่างด้าวในจังหวัดภูเก็ต    สาธารณภัย
  ภูมิปัญญาและแหล่งเรียนรู้

บทที่ 3 สภาพทางเศรษฐกิจ
 
ภาวะเศรษฐกิจการค้า
   แนวโน้มการท่องเที่ยวในช่วงกลางปี 2553
  ด้านแรงงาน
  ด้านอุตสาหกรรม
   ชุมชนและการรวมกลุ่ม
   เกษตรกร
  การเกษตรกรรม
  โครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว
 
บทที่ 4 โครงสร้างพื้นฐาน
   คมนาคมและโครงสร้างพื้นฐาน
   ป่าไม้
   การชลประทาน
   โครงการโครงสร้างพื้นฐาน

บทที่ 5 การพัฒนาจังหวัด
   ปัญหาและความต้องการ
   การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม 
   กรอบการดำเนินงาน
  ทิศทางการพัฒนา
   ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
   ยุทธศาสตร์ที่ 1
   ยุทธศาสตร์ที่ 2
   ยุทธศาสตร์ที่ 3
   ยุทธศาสตร์ที่ 4  
   โครงการและงบประมาณ 2553

    

 สารบัญ
 
บทที่ 1 สภาพทั่วไปของจังหวัด
 บทที่ 2 ด้านสังคม
 บทที่ 3 สภาพทางเศรษฐกิจ
 บทที่ 4 โครงสร้างพื้นฐาน
 บทที่ 5 การพัฒนาจังหวัด

ยาเสพติด

สรุปสถานการณ์ปัญหายาเสพติดพื้นที่จังหวัดภูเก็ต


การผลิตและปลูกพืชเสพติด

    การปลูกพืชเสพติดในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตห้วงเดือนตุลาคม 2551 - กรกฎาคม 2552 ยังไม่ใช่ปัญหาสำคัญเพราะโดยส่วนมากเป็นการนำมาจากพื้นที่อื่น   จากข้อมูลข่าวสารและข้อมูลการจับกุมการลักลอบปลูกพืชเสพติดในพื้นที่   ยังคงมีการลักลอบปลูกพืชเสพติดบ้างเล็กน้อยเช่น   พืชกระท่อม   กัญชาสด   แต่มีปริมาณไม่มากนักส่วนใหญ่ก็เป็นการลักลอบปลูกเพื่อไว้ใช้เองในพื้นที่ และเสพในกลุ่มเกษตรกร แรงงานก่อสร้าง นักท่องเที่ยว   นักเรียนนักศึกษา
               กัญชาสด กัญชาสดยังคงลักลอบปลูกบ้างในพื้นที่   อ.เมือง อ.ถลาง   โดยแอบปลูกแซมพืชสวนครัวปริมาณไม่กี่ต้น                  
               พืชกระท่อมสด  
ในพื้นที่ยังคงมีการปลูกแซมกับพืชสวนในพื้นที่กระจายอยู่ทุกอำเภอ เช่น   อ.เมือง อ.ถลาง อ.กะทู้ปริมาณไม่มากส่วนใหญ่ปลูกไว้บริโภค

การค้า
     
จังหวัดภูเก็ตเป็นศูนย์รวมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ   อนึ่งเพราะเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญประชากรมีความหลากหลาย   มีกำลังซื้อสูง   เป็นแรงจูงใจในการลักลอบนำยาเสพติดเข้ามาจำหน่ายทั้งที่มีการตรวจตราของเจ้าหน้าที่อย่างเข้มงวด   แต่การลักลอบลำเลียงยาเสพติดเข้ามาในพื้นที่ยังเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะนักค้าที่เป็นเครือข่ายระหว่างภาค   ระหว่างประเทศ ชาวต่างชาติ (กรณี เฮโรฮีน โคเคน) การเป็นแหล่งพักยาเสพติดเพื่อส่งไปประเทศที่สาม   และนำเข้ายาเสพติด(กรณีโคเคน) เป็นแหล่งพักสารตั้งต้นซูโดอีเฟดรีน เพื่อส่งออกต่างประเทศ รวมทั้งกลุ่มคนผู้กระทำความผิดมีลักษณะเป็นเครือข่ายมากขึ้น   ที่สำคัญกลุ่มผู้ค้ามีแนวโน้มอายุลดลง ทั้งเด็ก สตรี   มีการเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดมากขึ้น ในห้วงที่ผ่านมามีการจับกุมเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนคดีและปริมาณของกลาง  

  สถิติการจับกุมคดีค้า
        การจับกุมคดีค้าในห้วงที่ผ่านมามีการจับกุมคดีค้า 396 คดี ผู้ต้องหา 544 ราย   โดยส่วนใหญ่เป็นการกระทำผิดของผู้ต้องหาจากพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง เช่น   สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช จากพื้นที่สามจังหวัด กลุ่มนักค้าจากภาคเหนือ เป็นเครือข่ายใหญ่   
สถิติการจับกุมคดีค้าแยกตามชนิดยาเสพติด
      ในห้วงที่ผ่านมามีการจับกุมยาเสพติดในพื้นที่เพิ่มขึ้นเฉพาะยาบ้า 76,744 เม็ด กัญชาแห้ง 7,734 กรัม โคเคน 19 กรัม ไอซ์ 444 กรัม อัลปราโซแลม   1,032 เม็ด ยาอี 531 เม็ด ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตมีความหลากหลายของตัวยาและของกลางในคดีเพิ่มขึ้น
สถิติการจับกุมเปรียบเทียบคดีค้า
ปี 2551 เทียบปี 2552

จากสถิติแสดงจำนวนคดีในห้วงเดือนตุลาคม 2551-กรกฎาคม 2552 เปรียบเทียบกับห้วงปีงบประมาณ 2552  จะเห็นว่าทั้งจำนวนคดีเพิ่มขึ้น ร้อยละ  52  ซึ่งเพียงแค่ 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 ซึ่งแนวโน้มน่าจะเพิ่มขึ้นอีก ดังนั้น กลุ่มบุคคลที่ควรเฝ้าระวังมีทั้งผู้ค้าในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน  เช่น  กลุ่มนักค้าในพื้นที่  อ.เมือง, อ.พระแสง ,อ.พนม จ.สุราษฎร์ธานี ,  อ.ตะกั่วทุ่ง ,อ.โคกกลอย จ.พังงา , อ.พรหมคีรี  อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช ,อ.อ่าวลึก, อ.ปลายพระยา จ.กระบี่  และกลุ่มผู้ค้าแรงงานจากพื้นที่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  นักเรียนนักศึกษา  กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ  เช่น ชาวฮอลแลนด์  ออสเตรเลีย กลุ่มหญิงไทยที่เดินทางมาจากประเทศอาร์เจนติน่า  ซึ่งมีแนวโน้มในการกระทำความผิดในคดียาเสพติดมากขึ้น  ส่วนตัวยาที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษในเรื่องการค้าคือ  ไอซ์    เฮโรฮีน  โคเคน

รูปแบบการค้า/การรับส่งของ/การติดต่อสื่อสาร

        เนื่องจากจังหวัดภูเก็ตมีประชากรแฝงเข้ามาประกอบอาชีพในพื้นที่ รูปแบบและวิธีการมีความหลากหลายเป็นกระบวนการเป็นเครือข่ายมีความเชื่อมโยงกับเครือข่ายในพื้นที่ และต่างพื้นที่โดยเฉพาะจังหวัดสุราษฎร์ธานี   พังงา   กระบี่   และจังหวัดนครศรีธรรมราช   นอกจากนี้มีการค้าจากผู้ค้ารายใหม่ซึ่งเป็นรายย่อยเพิ่มมากขึ้น   การติดต่อซื้อขายยังคงเป็นการซื้อขายกันทางโทรศัพท์   การชำระเงินค่ายาเสพติดผ่านทางบัญชีธนาคาร   สำหรับการลำเลียงยาเสพติดนั้นมีทั้งที่ผู้ขายส่งในพื้นที่เดินทางไปรับยาเสพติดด้วยต้นเองหรือบางครั้งใช้คนสนิทขึ้นไปลำเลียงยาเสพติด จ่ายค่าตอบแทนเป็นเงินแล้วแต่ว่ายาเสพติดครั้งนั้นมีปริมาณเท่าไร   หรือการส่งทางไปรษณีย์   แต่ถ้าหากเป็นการขายปลีกในพื้นที่ก็จะนำยาเสพติดไปให้ด้วยตนเอง   หรือหากมีความระมัดระวังตัวเพิ่มขึ้นก็อาจส่งมอบกันโดยนัดสถานที่แล้วนำยาเสพติดไปวางไว้ในสถานที่ที่นัดหมาย     แล้วโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารเพื่อบอกจุดในการวางยาเสพติด การลักลอบโดยการซุกซ่อนในร่างกายแล้วเดินทางมากับเครื่องบินโดยสาร

เส้นทางการลำเลียง
จังหวัดภูเก็ตมีเส้นทางบกติดต่อจังหวัดพังงา   เมื่อผ่านเข้าเขตต้องผ่านด่านตรวจภูเก็ต  ( ท่าฉัตรไชย)   และทางท่าอากาศยาน   แต่ช่วงที่ผ่านมาไม่ปรากฏข่าวสารการลักลอบนำยาเสพติดมากับเครื่องบิน และสุดท้าย คือทางน้ำ   แต่จากสถิติแล้วทางบกมีความถี่ในการจับกุมมากที่สุด   ตัวอย่างเส้นทาง ที่มักมีการลักลอบลำเลียง เช่น

เส้นทางแรก
ยาบ้าและกัญชาจากภาคเหนือและภาคอีสาน ถูกนำเข้าสู่ภาคใต้โดยผ่าน จังหวัดชุมพร    ลำเลียงมาตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔   เข้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี   ตัดเข้าสู่ทางหลวง สายเอเชียหมายเลข 44 หรือเส้นทางรองหมายเลข 415 มาสามแยกหน้า สภ.ปลายพระยา   หรือสามแยกนาเหนือ และเข้าสู่ อ.อ่าวลึก อ.เมือง อ.ทับปุด จังหวัดพังงา เข้าจังหวัดภูเก็ต

เส้นทางที่สาม  
มาจากพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง เข้ามาอำเภอ คลองท่อม อำเภอเหนือคลอง และเข้าสู่อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่   โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4 บางส่วนส่งต่อเข้า   จ.ภูเก็ต

เส้นทางลักลอบลำเลียงที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษอีกทางหนึ่งคือ ทางเรือ

จากข้อมูลการข่าวในพื้นที่มีการลำเลียงยาบ้าโดยใช้เรือหางยาว   มาจากบ้านสามช่อง ต.กะไหล อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา ไปส่งที่ท่าเรือ   อ่าวปอ ต.ป่าคลอก อ.ถลาง จ.ภูเก็ต เพื่อหลบหลีกการตรวจค้นของด่านตรวจจังหวัดภูเก็ต    ( ท่าฉัตรไชย)

การแพร่ระบาด
การแพร่ระบาดในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตในห้วงที่ผ่านมา   มีแนวโน้มของการแพร่ระบาดในพื้นที่เพิ่มขึ้นมีการ
จับกุมผู้ต้องหาในคดีครอบครองและเสพมากขึ้นกว่าห้วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2551   มีการจับกุมในคดีเสพ 469 คดี
คดีครอบครอง 809 คดี ในกลุ่มผู้ต้องหาที่เป็นแรงงาน   นักเรียนนักศึกษา กลุ่มคนว่างงาน นักท่องเที่ยว   หญิงบริการตลอดจนพื้นที่ที่เป็นปัญหาความรุนแรงของการเป็นพื้นที่แพร่ระบาดยังคงเป็น อ.เมือง อ.กะทู้ และ อ.ถลาง
ยาที่สำคัญที่มีการแพร่ระบาดในพื้นที่มี   ยาบ้า   พบการแพร่ระบาดมากในพื้นที่   อ.เมือง และ   อ.ถลาง   กัญชาแห้ง พบการแพร่ระบาดในพื้นที่   อ.เมือง   อ.ถลาง อ.กะทู้   พืชกระท่อม   พบการแพร่ระบาดในพื้นที่ อ.ถลาง   อ.กะทู้ ส่วนยาในกลุ่ม Club drug ( ไอซ์ และโคเคน วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท) พบการแพร่ระบาดในพื้นที่ อ.เมือง อ.กะทู้ ในส่วนพืชกระท่อม (4 x 100) โดยพื้นที่หลักของการแพร่ระบาดแหล่งมั่วสุม   เช่น สวนสาธารณะสะพานหิน ตลาดนัด   หอพัก ร้านสะดวกซื้อ   กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ    โดยกลุ่มผู้เสพจะอยู่ในช่วงอายุ   15 -25 ปี   เป็นกลุ่มผู้ใช้แรงงาน กลุ่มวัยรุ่น นักเรียน นักศึกษา    หญิงบริการ   กลุ่มคนว่างงาน และแรงงานต่างด้าว  

สรุปแนวโน้มสถานการณ์ยาเสพติด
สถานการณ์ยาเสพติดในพื้นที่ จ.ภูเก็ต มีแนวโน้มการจับกุมเพิ่มขึ้นทั้งคดีค้าและเสพ   เนื่องจากความเข้มงวดในการกวาดล้างกลุ่มผู้ค้าและเสพ   การลักลอบนำเข้ามาในพื้นที่   เป็นต้น           
        กลุ่มการค้า  
          ๑.  การกระจายตัวของกลุ่มผู้ค้ารายสำคัญในพื้นที่มากขึ้น  โดยเป็นการจำหน่ายครั้งละ 5-10 ถุง ส่วนรายใหญ่จะจำหน่ายครั้งละหลายๆมัด  (2,000 เม็ด ขึ้นไป)
         ๒. กลุ่มนักค้ารายย่อยจากจังหวัดพังงา  นครศรีธรรมราช  กระบี่  สุราษฎร์ธานี  นักค้าจากพื้นที่ภาคเหนือ ชาวต่างชาติ  ที่จะลักลอบนำยาเสพติดเข้ามาจำหน่ายในพื้นที่ต้องเฝ้าระวังตามจุดตรวจจุดสกัดให้มากขึ้น
         ๓.มีแนวโน้มของการลักลอบลำเลียงยาเสพติดทางเรือ ระหว่างจังหวัดภูเก็ต กระบี่ พังงา
         ๔.ยาบ้า  กัญชาแห้ง  พืชกระท่อม  ไอซ์ และเฮโรฮีน  ยังคงเป็นตัวยากลักในการค้า
       การแพร่ระบาด
         ๑.  การแพร่ระบาดยาเสพติดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นกระจายทุกอำเภอโดยเฉพาะ อ.เมือง  อ.กะทู้  และ  อ.ถลาง
         ๒.  กลุ่มยาเสพติดที่ใช้เพื่อความบันเทิง (Club Drugs) โดยเฉพาะ ไอซ์ โคเคน เอ็กซ์ตาซี่  มีแนวโน้มการแพร่แพร่ระบาดเพิ่มขึ้นในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว
         ๓. พืชกระท่อม(สี่คูณร้อย) มีแนวโน้มในการแพร่ระบาดสูงขึ้น

แนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติดของจังหวัดภูเก็ต

        1 ยึดกรอบยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหายาเสพติด ปี 2552 / คำสั่ง ศอ.ปส. ที่ 8 / 2552 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2551 เรื่อง “ ปฏิบัติการ 90 วัน พันภัยยาเสพติด ” (3 พฤศจิกายน 2551 – 31 มกราคม 2552) และนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล กระทรวงมหาดไทย เพื่อให้การดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เป็นไปตามแนวทางและนโยบายที่กำหนด จึงได้แบ่งมอบภารกิจและความรับผิดชอบให้ส่วนราชการระดับจังหวัด   อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการให้ปรากฏผลการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม   โดยกำหนดกรอบภารกิจ ดังนี้

        1.2  มาตรการด้านการปราบปราม   ตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต   เป็นหน่วยงานหลักในการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการกวาดล้างจับกุมกลุ่มเป้าหมาย นักค้า เครือข่าย การอายัด   ริบทรัพย์   เรื่องร้องเรียน   การสกัดกั้นการขนส่งลำเลียงยาเสพติดเข้าสู่พื้นที่   การปิดล้อมตรวจค้น   นักค้าตามหมายจับ

         1.3  มาตรการด้านการป้องกัน   ที่ทำการปกครองจังหวัดภูเก็ต เป็นหน่วยงานหลักประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตรวจสอบหมู่บ้าน/ชุมชน ที่มีการแพร่ระบาดของยาเสพติดและปรากฏข่าวสารยาเสพติด   ปิดล้อม ตรวจค้น จับกุม   และกวาดล้าง การลักลอบจำหน่ายยาเสพติดโดยสนธิกำลังฝ่ายปราบปราม Re x – ray หมู่บ้าน/ชุมชน เป้าหมายที่เป็นพื้นที่เสี่ยง และบูรณาการดำเนินการตามนโยบายการจัดระเบียบสังคมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

         1.4 มาตรการด้านการบำบัดรักษา   สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต เป็นหน่วยงาน หลักประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการค้นหา   ชักจูง กดดันนำผู้เสพ ซึ่งถือเป็นผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดในระบบ

         1.5 ยึดหลักตามแนวทางยุทธศาสตร์    5    รั้วป้องกัน /   2 โครงการหลัก   ประกอบด้วย  

          รั้วชายแดน   : การสกัดกั้นการนำเข้ายาเสพติดตามแนวชายแดน
          รั้วชุมชน : การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน
          รั้วสังคม : การจัดระเบียบสังคมแบบบูรณาการ
          รั้วโรงเรียน : โรงเรียนป้องกันยาเสพติด  
          รั้วครอบครัว  : ครอบครัวสีขาว   ครอบครัวเข้มแข็ง
          โครงการปราบปรามยาเสพติดรายสำคัญ   และลดความเดือดร้อนประชาชน
          โครงการบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดแบบบูรณาการ

        1.6  แนวทางการดำเนินงานและผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์   5  รั้วป้องกัน / 2 โครงการหลัก จังหวัดภูเก็ต ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ให้สอดคล้องตามยุทธศาสตร์   5 รั้วป้องกัน  2 โครงการหลัก   โดยได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการรับผิดชอบดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดจังหวัดภูเก็ต   ตามคำสั่งจังหวัดภูเก็ต ที่ 511/2552  ลงวันที่ 7 เมษายน 2552  ประกอบด้วย คณะอนุกรรมการ 8 คณะ   โดยมอบหมายภารกิจหน้าที่และผลการดำเนินการ   ดังนี้

         1.6.1 คณะอนุกรรมการสกัดกั้นยาเสพติดตามแนวชายแดน    ( รั้วชายแดน)    มีรองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดภูเก็ต   ( ท.)   เป็นประธานอนุกรรมการ    สนธิกำลังทั้งฝ่ายตำรวจ   ฝ่ายทหาร   ฝ่ายปกครอง   และอาสาสมัคร   ปฏิบัติการสกัดกั้นยาเสพติด   ณ   ด่านตรวจท่าฉัตรไชย ด่านสกัดที่มีความเสี่ยง   เพื่อสกัดการขนส่ง   ลำเลียง   ตรวจค้นจับกุมบุคคล   ยานพาหนะ ที่ซุกซ่อนยาเสพติด    มาตรการทางการข่าว    จัดหาเครื่องสแกนตรวจค้นยาเสพติด อัลฟ่า 6  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการตรวจสกัด   นอกจากนี้ยังกำหนดมาตรการสกัดกั้นทางน้ำบริเวณท่าเรืออ่าวฉลอง และทางอากาศบริเวณสนามบินภูเก็ต

        1.6.2 คณะอนุกรรมการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ประชาสังคม   ( รั้วชุมชน)   มีปลัดจังหวัดภูเก็ต   เป็นประธานอนุกรรมการ   ดำเนินการต่อเป้าหมายหมู่บ้าน/ชุมชนที่ปรากฏข่าวสารการแพร่ระบาด   โดยดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน / ชุมชน   จัดทำประชาคมเพื่อค้นหา ผู้เสพ/ ผู้ติด   ผู้ค้า   ผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด    ชักจูงกดดันนำผู้เสพ/ผู้ติด   เข้าสู่ระบบบำบัด   ฯลฯ

         1.6.3 คณะอนุกรรมการจัดระเบียบสังคมแบบบูรณาการ   ( รั้วสังคม)   มีปลัดจังหวัดภูเก็ตเป็นประธานอนุกรรมการดำเนินมาตรการทางสังคม มาตรการป้องปราม และมาตรการทางกฎหมาย ในการลดพื้นที่เสี่ยงหรือปัจจัยลบต่อเยาวชนแนะนำตักเตือน และลงโทษผู้ประกอบการที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย   เช่น   สถานบันเทิง/สถานบริการ สถานประกอบการ   หอพัก/ที่พักเชิงพาณิชย์   ร้านเกมส์/ อินเตอร์เน็ต/   โต๊ะสนุกเกอร์/ ร้านค้าแอบแฝง/    โต๊ะพนันบอล   แหล่งมั่วสุม/ การแข่งขันจักรยานยนต์/ กลุ่มแก็งค์ต่าง ๆ    การเที่ยวเตร่ในยามวิกาลของเด็กและเยาวชน รวมทั้งเพิ่ม/ขยายพื้นที่และกิจกรรมทางบวกให้มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อเปิดทางเลือกให้กับเยาวชน   สามารถทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์โดยความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น   ลานกีฬา/ ลานดนตรี/ ลานกิจกรรมสร้างสรรค์ของเยาวชน กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์

         1.6.4 คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหายาเสพติดในโรงเรียน (รั้วโรงเรียน)   มี ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาภูเก็ต เป็นประธานคณะอนุกรรมการ     ดำเนินกิจกรรมพัฒนาคุณธรรม   สร้างกลไกเฝ้าระวังสอดส่องความประพฤตินักเรียนในสังกัด   การแต่งตั้งครูผู้รับผิดชอบงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา   การจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์    โครงการบ้านหลังเรียน   เช่น   กิจกรรมสอนเสริม   กิจกรรมดนตรี   กีฬา   ศิลปะ   การเยี่ยมบ้านนักเรียน   การจัดตั้งสภานักเรียน   เป็นต้น

         1.6.5 คณะอนุกรรมการส่งเสริมความเข้มแข็งครอบครัว   ( รั้วครอบครัว)    มี พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดภูเก็ต   เป็นประธานคณะอนุกรรมการ   ส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน   จัดอบรมหลักสูตรป้องกันยาเสพติด   มีเป้าหมาย   3  กลุ่ม   ได้แก่   กลุ่มครอบครัวที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด   กลุ่มครอบครัวที่มีความเสี่ยงกับยาเสพติด   กลุ่มครอบครัวทั่วไป   เป้าหมาย   100 ครอบครัว ๆ ละ   2-3 คน     การประกาศเจตนารมณ์เป็นครอบครัวสีขาวเมื่อสิ้นสุดโครงการ

          1.6.6 คณะอนุกรรมการปราบปรามยาเสพติด (โครงการปราบปรามยาเสพติด และลดความเดือดร้อนประชาชน)   มี   ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต   เป็นประธานคณะอนุกรรมการ   ดำเนินการปราบปรามนักค้ายาเสพติด เครือข่ายระดับสำคัญ   มาตรการด้านการข่าว   ดำเนินการตามข้อร้องเรียนของประชาชน    ดำเนินการจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับ    มาตรการยึด อายัด   ทรัพย์สิน   รวมทั้งปิดล้อม ตรวจค้นพื้นที่เป้าหมายเพื่อลดปัญหาการแพร่ระบาดในชุมชน    เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับจุดตรวจในพื้นที่รับผิดชอบ ที่มีความเสี่ยงต่อการใช้เป็นเส้นทางลำเลียงยาเสพติด    กำหนดมาตรการกำกับ ควบคุมเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ให้กระทำผิดหรือยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดโดยเด็ดขาด   โดยต้องดำเนินการทางกฎหมาย วินัย และทางการปกครองทันที

           1.6.7 คณะอนุกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ( โครงการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้เสพ / ผู้ติดแบบบูรณาการ)   มี   นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต   เป็นประธานคณะอนุกรรมการ   ดำเนินการนำผู้เสพ / ผู้ติดเข้าระบบการบำบัดในระบบ นำผู้เสพเข้าค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม   ติดตามช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัด ฯลฯ

            1.6.8 คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์   มี ประชาสัมพันธ์จังหวัดภูเก็ต   เป็นประธานคณะอนุกรรมการ   ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ กิจกรรมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด   จัดให้มีสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ   เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกของประชาชน ผ่านทางวิทยุ โทรทัศน์ ป้ายประชาสัมพันธ์   คัตเอ๊าท์

            1.6.9 แนวทางมาตรการอื่นๆ  

                1)  กำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการ ศตส.จ.   เดือนละ   1 ครั้ง   โดยกำหนดปฏิทินการประชุมไว้เป็น

การล่วงหน้า ตลอดทั้งปี พ.ศ. 2552

                2)  กำหนดให้มีการประชุมคณะอนุกรรมการรับผิดชอบดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดจังหวัดภูเก็ต   ทั้ง   8  คณะ   ร่วมกับการประชุมโต๊ะข่าวยาเสพติด (โต๊ะข่าวด้านการปราบปราม   โต๊ะข่าวด้านการป้องกัน   และโต๊ะข่าวด้านการบำบัดฟื้นฟู) โดยแยกตามภารกิจหน้าที่ของหน่วยงานที่มีความสอดคล้องกัน เดือนละ   1 ครั้ง

             3)  กำหนดให้มีการประชุมคณะทำงานโต๊ะข่าวประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลเฝ้าระวัง   เดือนละ 2 ครั้งโดยกำหนดปฏิทินการประชุมไว้เป็นการล่วงหน้า ตลอดทั้งปี พ.ศ. 2552

               4) รับแจ้งข้อมูลเบาะแสยาเสพติดผ่านช่องทาง   ตู้   ปณ. 1  / เว็บบอร์ดทางเว็บไซด์จังหวัดภูเก็ต  www.phuket.go.th E – mail : phuket_drug@moi.go.th และโทรศัพท์มือถือหมายเลข 081-0810220 (24 ชั่วโมง)

ผลการดำเนินการด้านการปราบปรามยาเสพติด

                สถิติการจับกุมยาเสพติดให้โทษประจำปีงบประมาณ 2552 ( ตุลาคม 2551 -  กันยายน 2552) สามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ 2,094 ราย 2,365 คน จำนวนเฉลี่ยของคดียาเสพติดต่อประชากร   100,000  คน   ตั้งแต่ปี 2549 – 2552  เฉลี่ยปีละ 427.85  คดี ดังแสดงในตารางที่ 4

 

                              ตารางที่4 แสดงจำนวนคดียาเสพติดต่อประชากรแสนคน

 จังหวัด

ปี

จำนวนประชากร

 รวม

จำนวนคดียาเสพติด

จำนวนคดียาเสพติด
: ประชากร
100,000  คน  (คดี)

ชาย

หญิง

คดี

ผู้ต้องหา

ภูเก็ต

2549

144,391

156,346

300,737

1,074

1,204

357.12

2550

150,155

164,673

314,828

1,058

1,200

336.05

2551

155,555

171,451

327,006

1,277

1,438

390.51

2552

158,485

175,093

333,578

2,094

2,365

627.73

 

การบำบัดฟื้นฟูยาเสพติด

                        ผลการดำเนินงานด้านการบำบัดฟื้นฟู ในปี 2552 มีผู้เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูแบบสมัครใจ จำนวน 49 คน เป็นเพศชาย 38 คน และเพศหญิง 41 คน ดคียาเสพติที่เข้ารับการบำบัดมากที่สุดคือ เสพยาบ้า 33 ราย รองลงมา เสพกัญขา 8 ราย และอื่นๆ 7 ราย

หมายเหตุ : สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดจังหวัดภูเก็ต โทร 0 7635 4875 ต่อ 67929

 

 

 

 

 

                                                              

จัดทำโดย: กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดภูเก็ต    โทรศัพท์ 076 360700 ต่อ 68052