Untitled Document
บรรยายสรุปจังหวัดภูเก็ต
บรรยายสรุปจังหวัดภูเก็ต

บทที่ 1 สภาพทั่วไปของจังหวัด
  ความเป็นมา
  ขนาดพี้นที่และเขตการปกครอง
  ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ
  การปกครอง ประชากร
  การประกอบอาชีพ
  การเลือกตั้ง
         
 สมาชิกวุฒิสภา
          สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

          
การเลือกตั้งท้องถิ่น
          การออกเสียงประชามติ


บทที่ 2 ด้านสังคม
  การศึกษา การสาธารณสุข
  ศาสนา
  ยาเสพติด
  ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
  สวัสดิการสังคม
  แรงงานต่างด้าวในจังหวัดภูเก็ต    สาธารณภัย
  ภูมิปัญญาและแหล่งเรียนรู้

บทที่ 3 สภาพทางเศรษฐกิจ
 
ภาวะเศรษฐกิจการค้า
   แนวโน้มการท่องเที่ยวในช่วงกลางปี 2553
  ด้านแรงงาน
  ด้านอุตสาหกรรม
   ชุมชนและการรวมกลุ่ม
   เกษตรกร
  การเกษตรกรรม
  โครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว
 
บทที่ 4 โครงสร้างพื้นฐาน
   คมนาคมและโครงสร้างพื้นฐาน
   ป่าไม้
   การชลประทาน
   โครงการโครงสร้างพื้นฐาน

บทที่ 5 การพัฒนาจังหวัด
   ปัญหาและความต้องการ
   การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม 
   กรอบการดำเนินงาน
  ทิศทางการพัฒนา
   ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
   ยุทธศาสตร์ที่ 1
   ยุทธศาสตร์ที่ 2
   ยุทธศาสตร์ที่ 3
   ยุทธศาสตร์ที่ 4  
   โครงการและงบประมาณ 2553

    

 สารบัญ
 
บทที่ 1 สภาพทั่วไปของจังหวัด
 บทที่ 2 ด้านสังคม
 บทที่ 3 สภาพทางเศรษฐกิจ
 บทที่ 4 โครงสร้างพื้นฐาน
 บทที่ 5 การพัฒนาจังหวัด

การชลประทาน

สถานการณ์น้ำอุปโภคบริโภคปัจจุบัน
ปริมาณน้ำต้นทุน
    จังหวัดภูเก็ตมีแหล่งเก็บกักน้ำของทั้งเกาะภูเก็ต ที่ใช้ได้ในปี 2553  รวมความจุประมาณ  28.4 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยเมื่อรวมกับน้ำท่า น้ำทะเลและน้ำใต้ดินจะสามารถนำมาใช้ได้  ประมาณ  46  ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี  แยกเป็น
น้ำผิวดิน               38 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปีหรือร้อยละ 82 ของปริมาณน้ำที่นำมาใช้ได้ทั้งหมด 
น้ำใต้ดิน                 4 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี หรือร้อยละ 9
น้ำทะเล                  4 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี หรือร้อยละ 9

    ปริมาณน้ำต้นทุนที่นำมาใช้ได้ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการทั้งหมด   โดยเฉพาะในพื้นที่บริเวณที่ไม่มีระบบประปาจำเป็นต้องใช้น้ำจากบ่อน้ำตื้น   บ่อบาดาลและประปาชนบทขนาดเล็ก ดังรายละเอียดของแหล่งน้ำต่าง ๆ   คือ

   - อ่างเก็บน้ำบางวาดความจุ 7.3 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำที่ใช้ได้ประมาณ 14 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี
   รวมการสูบผันน้ำเติม
   - อ่างเก็บน้ำคลองบางเหนียวดำความจุ 7.2 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำที่ใช้ได้ประมาณ 5 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี
   - ขุมเหมืองของรัฐ 7 แห่ง ความจุ   1.5   ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำที่ใช้ได้   3 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี ( ขุมสวนหลวง
   3 แห่ง ,    ขุมเทศบาลฯภูเก็ต , ประปา อบต.ศรีสุนทร , ขุมประปาเทศบาลเชิงทะเล ,  ขุมประปาเทศบาลเทพกระษัตรี)
   - ขุมเหมืองเอกชน 6 แห่ง ความจุ   4.0   ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำที่ใช้ได้ 6 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี(ขุมอนุภาษกะทู้ ,    ขุมพะเนียง , ขุมหน้า รพ.วชิระ , ขุมม่าหนิก , ขุมฮิตเลอร์ , ขุมประปา อบต.ฉลอง)
   - ประปาภูมิภาคภูเก็ตซื้อน้ำประปาจากบริษัท REQ. 2 แห่ง แหล่งน้ำมีความจุประมาณ 0.7 ล้านลูกบาศก์เมตร  และ    รับน้ำท่าจากคลองธรรมชาติ   รวมผลิตน้ำประปาเฉลี่ย 6 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี
   - ประปาภูมิภาคภูเก็ตซื้อน้ำประปาจากบริษัท REQ. ผลิตน้ำประปาจากน้ำทะเล   กำลังผลิต 12,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน    ผลิตน้ำประปาเฉลี่ย  4 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี
   - ประปาภูมิภาคภูเก็ต สูบใช้จากคลองบางใหญ่เฉลี่ย    3 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี
   - น้ำจากบ่อบาดาลที่ขออนุญาต 95 แห่ง   รวมสูบน้ำใช้ประมาณ  3 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี
   - ประปาสัมปทานในธุรกิจบ้านจัดสรรของเอกชน 5 แห่ง ใช้น้ำจากบ่อบาดาล และขุมเหมือง ความจุประมาณ   0.5    ล้านลูกบาศก์เมตร   รวมผลิตน้ำประปาเฉลี่ย  2 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี

ปริมาณความต้องการน้ำ
    จากการวิเคราะห์ปริมาณความต้องการน้ำในทุกกิจกรรม   โดยใช้ข้อมูลจริงปี   2545-2549 และวิเคราะห์คาดการณ์แนวโน้มปริมาณความต้องการน้ำ ของจังหวัดภูเก็ต มีความต้องการน้ำเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2 ต่อปี   ตามการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและปริมาณนักท่องเที่ยว   ซึ่งจากปี 2547 มีความต้องการน้ำประมาณ 42 ล้านลูกบาศก์เมตร   ในปี   2553   ต้องการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคประมาณปีละ   51   ล้านลูกบาศก์เมตร หรือต้องการน้ำประปาเฉลี่ยประมาณวันละ 139,726 ลูกบาศก์เมตร   ส่วนในระยะยาวปริมาณความต้องการน้ำ   ดังนี้  

        ปี   2560  ต้องการน้ำ           ประมาณ   61  ล้านลูกบาศก์เมตร  
        ปี   2570  ต้องการน้ำ           ประมาณ   78  ล้านลูกบาศก์เมตร  
        ปี   2580  ต้องการน้ำ           ประมาณ   101  ล้านลูกบาศก์เมตร

ปริมาณความต้องการน้ำเทียบสัดส่วนเป็นรายอำเภอ คือ

        อำเภอเมืองภูเก็ต       ต้องการน้ำประมาณร้อยละ 58 ของปริมาณความต้องการทั้งหมด
        อำเภอกะทู้               ต้องการน้ำประมาณร้อยละ 20 ของปริมาณความต้องการทั้งหมด
        อำเภอถลาง              ต้องการน้ำประมาณร้อยละ 22 ของปริมาณความต้องการทั้งหมด

กำลังการผลิตน้ำประปา
    สำหรับกำลังการผลิตน้ำประปาสูงสุดปัจจุบัน โดยรวมระบบประปาขนาดเล็กในชุมชนรวมประมาณ   125,800 ลูกบาศก์เมตร/วัน   หรือ 45 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี ซึ่งจะเห็นได้ว่าปริมาณการผลิตน้ำประปาสนองความต้องการใช้น้ำได้ประมาณร้อยละ 89 ของความต้องการทั้งหมด แต่ให้บริการได้ร้อยละ 70 ของจำนวนผู้ต้องการน้ำ และเป็นพื้นที่บริการน้ำประปาประมาณร้อยละ 40 ของทั้งจังหวัดภูเก็ต แยกกำลังการผลิตแต่ละแหล่ง   ดังนี้
        - ประปาภูมิภาค สูงสุดประมาณ 48,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน หรือ   18 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี
        - ประปาบริษัท REQ. ประมาณ     28,500 ลูกบาศก์เมตร/วัน หรือ   10 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี
        - ประปาเทศบาลนครภูเก็ตประมาณ 26,300 ลูกบาศก์เมตร/วันหรือ 9 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี
        - ประปาขององค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลตำบล รวมกำลังการผลิต ประมาณ 10,700 ลูกบาศก์เมตร/วัน  
        หรือ 3.5 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี  
        - ประปาในธุรกิจของเอกชนประมาณ 12,300 ลูกบาศก์เมตร/วัน หรือ   4.5 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี

 

 

 

                                                              

จัดทำโดย: กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดภูเก็ต    โทรศัพท์ 076 360700 ต่อ 68052