Untitled Document
บรรยายสรุปจังหวัดภูเก็ต
บรรยายสรุปจังหวัดภูเก็ต

บทที่ 1 สภาพทั่วไปของจังหวัด
  ความเป็นมา
  ขนาดพี้นที่และเขตการปกครอง
  ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ
  การปกครอง ประชากร
  การประกอบอาชีพ
  การเลือกตั้ง
         
 สมาชิกวุฒิสภา
          สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

          
การเลือกตั้งท้องถิ่น
          การออกเสียงประชามติ


บทที่ 2 ด้านสังคม
  การศึกษา การสาธารณสุข
  ศาสนา
  ยาเสพติด
  ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
  สวัสดิการสังคม
  แรงงานต่างด้าวในจังหวัดภูเก็ต    สาธารณภัย
  ภูมิปัญญาและแหล่งเรียนรู้

บทที่ 3 สภาพทางเศรษฐกิจ
 
ภาวะเศรษฐกิจการค้า
   แนวโน้มการท่องเที่ยวในช่วงกลางปี 2553
  ด้านแรงงาน
  ด้านอุตสาหกรรม
   ชุมชนและการรวมกลุ่ม
   เกษตรกร
  การเกษตรกรรม
  โครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว
 
บทที่ 4 โครงสร้างพื้นฐาน
   คมนาคมและโครงสร้างพื้นฐาน
   ป่าไม้
   การชลประทาน
   โครงการโครงสร้างพื้นฐาน

บทที่ 5 การพัฒนาจังหวัด
   ปัญหาและความต้องการ
   การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม 
   กรอบการดำเนินงาน
  ทิศทางการพัฒนา
   ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
   ยุทธศาสตร์ที่ 1
   ยุทธศาสตร์ที่ 2
   ยุทธศาสตร์ที่ 3
   ยุทธศาสตร์ที่ 4  
   โครงการและงบประมาณ 2553

    

 สารบัญ
 
บทที่ 1 สภาพทั่วไปของจังหวัด
 บทที่ 2 ด้านสังคม
 บทที่ 3 สภาพทางเศรษฐกิจ
 บทที่ 4 โครงสร้างพื้นฐาน
 บทที่ 5 การพัฒนาจังหวัด

เทศกาล และ ประเพณีท้องถิ่นภูเก็ต

ประเพณีถือศีลกินผัก
          กำหนดจัดในวันขึ้น 1-9 ค่ำ เดือน 9 ของจีน จะอยู่ในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคมของทุกปี ระหว่างถือศีลกิน
ผัก ชาวบ้านจะไปรับอาหารจากศาลเจ้า มีพิธีกรรมตามความเชื่อ เช่น ลุยไฟ ไต่บันไดมีด ฯลฯ มีการแห่เจ้าไปตามถนนต่างๆ โดยชาวบ้านสองฝั่งถนนจะจุดประทัดเสียงอื้ออึงไปตลอดสาย ประเพณีกินผักนี้ถือว่าเป็นการอุทิศความดีให้กับพระและเทวดาฟ้าดินเพื่อให้พระคุ้มครองชาวภูเก็ตและเกาะภูเก็ตตลอดไป 

ประเพณีตรุษจีน
         การเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของคนจีนการปฏิบัติ วันตรุษจีนตรงกับ วันแรกของเดือน 1 ของจีน หรือ เดือน
2 เดือน 3 ทางจันทรคติ มีพิธีกรรมทั้งหมด 3 วัน- วันแรก คือ วันที่ 29 เดือน 12 ของจีน มีการเตรียมอาหาร และ ของไหว้ต่าง ๆ ไว้สำหรับวันรุ่งขึ้น- วันที่สอง คือ วันที่ 30 เดือน 12 ของจีน มีการไหว้ 2 ช่วง คือ ช่วงเช้า จะมีการไหว้เทพเจ้า และช่วงบ่ายจะมีการไหว้บรรพบุรุษ เมื่อเสร็จพิธีไหว้ จะมีการรับประทานอาหารร่วมกันในครอบครัว และมีการแจก " อั่งเปา" (แต๊ะเอีย) ให้แก่เด็ก ๆ- วันที่สาม คือ วันที่ 1 เดือน 1 ของจีน ชาวจีนจะแต่งกายด้วยชุด ใหม่เพื่อเป็นสิริมงคล ไปไหว้พระที่ศาลเจ้า และวันนี้ถือว่าเป็น วันเที่ยว อาจจะไปเยี่ยมญาติในท้องถิ่นอื่น ซึ่งในวันนี้จะไม่มีการ ทำงานแต่อย่างใด จะไม่มีการพูดคำหยาบ หรือดุด่าว่ากล่าวกัน

ประเพณีไหว้เทวดา
          เดิมเป็นประเพณีของชาวจีนฮกเกี้ยนในภูเก็ตต่อมาได้แพร่หลายในหมู่ชาวจีนทั่วไป ประเพณีไหว้เทวดาถือ
ปฏิบัติกันมานานโดยเฉพาะในเขตเทศบาลเมืองภูเก็ต กำหนดงานคือวันถัดจากตรุษจีนรวมเวลา 9 วัน พิธีจะเริ่มขึ้นหลังเที่ยงของวันที่ 8 หรือ ที่เรียกว่า "โชยโป้ย" และวันสุดท้ายคือเช้าของวันที่ 9 เรียกว่า "โชยเก้า”

ประเพณีนอนหาด
         การนอนหาดเป็นประเพณีเก่าแก่ที่ชาวมอร์แกนได้สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อเป็นการแก้บน สะเดาะเคราะห์ อนุรักษ์สืบทอดประเพณีของกลุ่ม และเป็นโอกาสที่ดีในการพบปะสังสรรค์ของกลุ่มชาวมอร์แกนที่อยู่ในที่ต่างๆ ซึ่งจะจัดขึ้นเป็นเวลา 3 คืน 4 วัน ตรงกับวันขึ้น 13-15 ค่ำเดือน 3 ของทุกๆ ปี ซึ่งเมื่อถึงวันงานชาวมอร์แกนจากที่ต่างๆ ก็จะเดินทางมาร่วมกันทำกิจกรรม และนอนร่วมกันที่ริมหาดทรายแก้ว(อยู่ใน ต.ไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต) ในอดีต ประเพณีนอนหาด จะมีเพียงการประกอบพิธีกรรมและการละเล่นพื้นบ้านเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น แต่ปัจจุบันได้พัฒนารูปแบบให้มีความสนุกสนานน่าสนใจมากยิ่งขึ้น โดยจัดให้มีการแสดงทางวัฒนธรรมต่างๆ การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน เช่น ชักกะเย่อ การแข่งขันจับจั๊กจั่นทะเล หรือแม้กีฬาสมัยใหม่ตามทุกสมัยอย่าง การแข่งขันฟุตบอลชายหาด เพื่อเชื่อมความสามัคคีในกลุ่มของชาวมอร์แกนด้วยกัน ทั้งกลุ่มชาวมอร์แกนที่อยู่ในจังหวัดภูเก็ต และกลุ่มชาวมอร์แกนที่อยู่ในจังหวัดอื่นๆ

ประเพณีปล่อยเต่า
         ตรงกับวันที่ 13 เมษายน หรือวันสงกรานต์ของทุกปี กรมประมงได้กำหนดให้เป็นวันประมงแห่งชาติ มี
ประเพณีปล่อยลูกเต่าลงทะเลโดยจะจัดงานในบริเวณหาดต่างๆ ในภูเก็ต

ประเพณีลอยเรือชาวเล
       จะมีพิธีในกลางเดือน 6 และ 11 ของทุกปี โดยกลุ่มชาวเลที่หาดราไวและบ้านสะปำจะมีพิธีลอยเรือในวันขึ้น 13 ค่ำ และกลุ่มชาวเลที่แหลมหลา (ทางตอนเหนือของเกาะภูเก็ต) จะมีพิธีลอยเรือในวันขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งถือเป็นพิธีสะเดาะเคราะห์ของชาวเลคล้ายกับพิธีลอยกระทงของชาวไทย มีการสร้างเรือจากไม้ระกำ ตัดผมตัดเล็บ และทำตุ๊กตาไม้แทนคน ใส่ลงไปในเรือ แล้วนำไปลอยเพื่อนำเอาความทุกข์โศก เคราะห์ร้ายต่างๆ ออกไปกับทะเล แล้วมีการร่ายรำรอบเรือ หรือที่เรียกว่า “รำรองเง็ง” นั่นเอง

ประเพณีผ้อต่อ
         เป็นงานประเพณีของชาวภูเก็ตที่มีเชื่อสายจีน จะมีพิธีในช่วงเดือน 7 ของจีน หรือเดือน 9 ของไทย โดยมีพิธี
เซ่นไหว้บรรพบุรุษและวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ด้วยเครื่องบวงสรวง เป็นขนมชนิดหนึ่งทำด้วยแป้งเป็นรูปเต่าขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้างทาสีแดง ซึ่งคนจีนเชื่อว่าเต่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืน ดังนั้นการไหว้เต่าจึงเป็นการต่ออายุให้ตนเอง และถือเป็นกุศลที่ยิ่งใหญ่

ประเพณีสารทไทย (งานสารทเดือน ๑๐)
         ทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว บางท่านอาจจะได้รับความลำบากอยู่ตามขุมนรกต่างๆ
เมื่อท่านเหล่านั้นมีโอกาสได้มาเมืองมนุษย์อีก ลูกหลานต้องทำอาหารต้อนรับและให้นำกลับไปกินด้วย เป็นการชุมนุมญาติพี่น้องซึ่งอยู่ไกลๆ เมื่อถึงเดือน ๑๐ จะต้องเดินทางกลับมาทำบุญให้บรรพบุรุษ สืบทอดประเพณีและวัฒนธรรมดั้งเดิมให้คงอยู่ต่อไป ขนมที่จัดไปในวันเดือน ๑๐ คือ ขนมลา ขนมพอง ขนมเทียน ขนมท่อนใต้ ขนมจูจุน ขนมเจาะรู ขนมสะบ้า ขนมเหล่านี้มีความหมายต่างๆ เพื่อให้บรรพบุรุษนำเอาไปใช้ประโยชน์ทั้งสิ้น
การทำบุญเดือนสิบถือนิยมเอาวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ เป็นวันทำบุญ บางวัดอาจจะใช้วันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๐ ก็ได้ สำหรับในจังหวัดภูเก็ตนั้นมีบางวัดทำบุญเดือน ๑๐ ก่อนวัดอื่นๆ เช่น วัดพระทอง (ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐)       วัดเทพกระษัตรี (วัดบ้านดอน) ทำในวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๐ ส่วนวัดอื่นๆ ในจังหวัดภูเก็ตจะจัดพิธีในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ กันทุกวัด

วันถลางชนะศึก / งานท้าวเทพกษัตรีย์-ท้าวศรีสุนทร
        ตรงกับวันที่ 13 มีนาคมของทุกปี มีการจัดงานเฉลิมฉลอง มีกิจกรรมต่างๆ มากมาย เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สองวีรสตรีสามารถปกป้องเมืองถลางให้รอดพ้นจากข้าศึกพม่าและสดุดีในวีรกรรมของท่าน

ประเพณีเฉ่งเม้ง
       ประเพณีเดือน ๒ ของจีน ได้แก่ ประเพณีเฉ่งเม้ง หรือที่ภาษาฮกเกี้ยน เรียกว่า เฉ่งเบ๋ง กระทำกันในวัน ๔
ค่ำ เดือน ๒ ของจีน หรือตรงกับวันที่ ๕ เมษายน ของทุกๆปี  เป็นพิธีกรรมที่ชนรุ่นหลังแสดงถึง ความกตัญญูที่มีต่อบรรพบุรุษ ด้วยการไปถากถางบริเวณหลุมฝังศพของบรรพบุรุษ พร้อมนำอาหารคาวหวานไปเซ่นไหว้ เสร็จแล้วนำกระดาษหลากสีไปประดับบนหลุมฝังศพ ซึ่งเปรียบกระดาษสีคือเสื้อผ้าใหม่สำหรับผู้ตาย อนึ่งใน ระยะนี้ลูกหลานต้องการซ่อมแซมบ่อง (หลุมศพ) ให้สวยงามก็จะต้องทำในระยะนี้ เดือนอื่นๆห้ามทำเด็ดขาด

เทศกาลอาหารทะเล
       จัดขึ้นประมาณเดือนพฤษภาคมของทุกปี มีวัตถุประสงค์ที่จะเผยแพร่อาหารทะเลที่มีชื่อเสียงของจังหวัด
ภูเก็ต ชักชวนให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวภูเก็ตในฤดูฝน กิจกรรมของงานมีการประกวดขบวนแห่ทรัพยากรท่องเที่ยวทางทะเล การออกร้านจำหน่ายอาหารทะเล การสาธิตอาหารประจำภาค การแสดงศิลปวัฒนธรรมของภาคต่างๆ

ศิลปะ และ วัฒนธรรม

รองเง็ง
       การละเล่นพื้นเมืองของจังหวัดภูเก็ต คือ “รองเง็ง” เป็นการละเล่น หรือ นาฎศิลป์ของชาวเล ที่มีการร่ายรำ
และเต้นรำด้วยการเคลื่อนไหวของมือ เท้า ลำตัว ที่สัมพันธ์และสอดคล้องกัน ด้วยทำนองและเนื้อร้องของเพลงต้นโยง ที่มีเครื่องดนตรี ไวโอลิน ฆ้อง  ฉิ่ง และกรับไม้ เป็นส่วนประกอบสำคัญ
สำหรับการแต่งกายในการละเล่น รองเง็ง นั้น ชาวเลผู้หญิงจะนุ่งผ้าปาเต๊ะ สวมเสื้อลูกไม้แขนยาวสีสัน
ฉูดฉาด ซึ่งชุดที่ใช้สวมใส่จะมีลักษณะคล้ายชุดยอหยา

การอุปสมบท
       ชาวภูเก็ตในปัจจุบันจะนิยมรวบรัดพิธีอุปสมบท โดยให้มีการโกนผมนาคในตอนเช้าตรู่ของวันอุปสมบท และ
ทำพิธีอุปสมบทในตอนสาย เมื่อเสร็จพิธีอุปสมบทในเวลาฉันเพลก็จะเลี้ยงภัตตาหารเพลพระภิกษุสงฆ์ในวัด เพื่อเป็นการฉลองพระภิกษุที่บวชใหม่ไปพร้อมกัน

การแต่งงาน
      ชาวภูเก็ตจะมีการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมไทยและจีนร่วมกัน นั่นคือเมื่อมีการสู่ขอและกำหนดวัน
แต่งงานเรียบร้อยแล้ว ในตอนเช้าของวันแต่งงานเจ้าบ่าวจะแห่ขันหมากและของหมั้นต่าง ๆ มาบ้านเจ้าสาว พร้อมการจุดประทัดต้อนรับเจ้าบ่าวเมื่อมาถึงบ้านเจ้าสาว และเมื่อมีการหมั้นเจ้าสาวเรียบร้อยแล้ว เจ้าบ่าวและเจ้า     สาวจะต้องไปสักการะเจ้าแม่กวนอิม(ปุดจ้อ) ณ ศาลเจ้าปุดจ้อ และไปไหว้หลวงพ่อแช่ม ณ วัดฉลอง เมื่อเสร็จพิธีดังกล่าวแล้วก็จะเป็นการเลี้ยงฉลองการแต่งงาน ซึ่งก่อนการเลี้ยงฉลองจะมีการเชิญญาติผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่ายรับการคาราวะน้ำชาจากเจ้าสาวและเจ้าบ่าว เรียกว่า “ผั่งเต๋” เมื่อเสร็จการเลี้ยงฉลองจะมีการส่งตัวเจ้าสาวเจ้าบ่าวเข้าเรือนหอตามประเพณีทั่วไป

ย่าหยา  :  เอกลักษณ์สตรีภูเก็ตที่แสนจะงดงามและมีเสน่ห์อันล้ำลึก
       ย่าหยา หรือชาวจีนภูเก็ตเรียกว่า  ปั่วตึ่งเต่ ที่แปลว่า ครึ่งสั้น ครึ่งยาว  ชาวปีนังเรียกว่า ชุดเคบาย่า  เป็นชุด
การแต่งกายทางชาวพื้นเมืองดั้งเดิมภูเก็ต  ปัจจุบันการแต่งกายชุดย่าหยา ถือว่าเป็นการแต่งกายที่งดงาม  แสดงออกถึงความสวยงามของความเป็นกุลสตรีภูเก็ต ในงานสำคัญ ๆ  เช่น  งานบุญ   งานประเพณีต่าง ๆ  อาทิ  งานแต่งงาน  งานบวช  งานประเพณีกินผัก  งานวันปีใหม่  หรืองานตรุษสงกรานต์  จะมีโอกาสได้เห็นสตรีภูเก็ตแต่งกายชุดย่าหยา ที่งามสง่าน่าพิศ น่ามองเป็นที่ประทับใจยิ่งของผู้ได้พบเห็น
ย่าหยา แต่เดิมนั้น เป็นชุดแต่งกายของผู้หญิงชาวภูเก็ต ซึ่งปรับปรุงพัฒนามาจากชุดครุย  ซึ่งเป็นชุดแต่งกาย
ของเจ้าสาวในประเพณีดั้งเดิมของคนจีนที่มาตั้งรกรากถิ่นฐานอยู่ในเกาะภูเก็ต  ชุดครุยนั้น เป็นชุดที่ต้องสวมใส่หลายชั้น  หลายชิ้น  อาจไม่คล่องตัวและไม่เหมาะกับอากาศในบ้านเมืองแถบนี้  จึงมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการแต่งกายให้กระฉับกระเฉงและโปร่งสบายขึ้นตามความเหมาะสม  หากแต่ยังคงความงามและสร้างเสน่ห์ให้ผู้สวมใสไม่เปลี่ยนแปลงไปเลยคุณค่าของย่าหยา คือคุณค่าของมรดกในวันวาน  แม้จะเป็นอดีต แต่เป็นอดีตที่รุ่งเรืองมากค่าด้วยวัฒนธรรมเฉพาะถิ่น และยังส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่นไม่เคยหยุดนิ่ง หรือขาดตอนขาดช่วง

วัฒนธรรมการรับประทานอาหาร
อาหารส่วนใหญ่ของชาวจังหวัดภูเก็ตจะเน้นไปทางด้านอาหารจีน ซึ่งมีลักษณะเฉพาะของจังหวัดภูเก็ตเอง
นอกจากนี้ในการรับประทานอาหารเช้า ชาวจังหวัดภูเก็ตจะนิยมรับประทานเป็น ขนม น้ำชา-กาแฟ หรือขนมจีน แทนการรับประทานข้าว

เรือนไทยถิ่นภูเก็ต
รูปแบบของเรือนไทย ภูเก็ตเมื่อประมาณ 100 ปีที่ผ่านมา โดยแยกเป็นส่วนต่าง ๆ คือ
* นอกชาน
* บนโรง หรือส่วนที่รับแขก
* ห้องนอน
* โรงครัว
สามารถหาชมได้ที่หอวัฒนธรรมภูเก็ต สำนักศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต

 


 

                                                              

จัดทำโดย: กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดภูเก็ต    โทรศัพท์ 076 360700 ต่อ 68052