Untitled Document
บรรยายสรุปจังหวัดภูเก็ต
บรรยายสรุปจังหวัดภูเก็ต

บทที่ 1 สภาพทั่วไปของจังหวัด
  ความเป็นมา
  ขนาดพี้นที่และเขตการปกครอง
  ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ
  การปกครอง ประชากร
  การประกอบอาชีพ
  การเลือกตั้ง
         
 สมาชิกวุฒิสภา
          สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

          
การเลือกตั้งท้องถิ่น
          การออกเสียงประชามติ


บทที่ 2 ด้านสังคม
  การศึกษา การสาธารณสุข
  ศาสนา
  ยาเสพติด
  ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
  สวัสดิการสังคม
  แรงงานต่างด้าวในจังหวัดภูเก็ต    สาธารณภัย
  ภูมิปัญญาและแหล่งเรียนรู้

บทที่ 3 สภาพทางเศรษฐกิจ
 
ภาวะเศรษฐกิจการค้า
   แนวโน้มการท่องเที่ยวในช่วงกลางปี 2553
  ด้านแรงงาน
  ด้านอุตสาหกรรม
   ชุมชนและการรวมกลุ่ม
   เกษตรกร
  การเกษตรกรรม
  โครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว
 
บทที่ 4 โครงสร้างพื้นฐาน
   คมนาคมและโครงสร้างพื้นฐาน
   ป่าไม้
   การชลประทาน
   โครงการโครงสร้างพื้นฐาน

บทที่ 5 การพัฒนาจังหวัด
   ปัญหาและความต้องการ
   การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม 
   กรอบการดำเนินงาน
  ทิศทางการพัฒนา
   ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
   ยุทธศาสตร์ที่ 1
   ยุทธศาสตร์ที่ 2
   ยุทธศาสตร์ที่ 3
   ยุทธศาสตร์ที่ 4  
   โครงการและงบประมาณ 2553

    

 สารบัญ
 
บทที่ 1 สภาพทั่วไปของจังหวัด
 บทที่ 2 ด้านสังคม
 บทที่ 3 สภาพทางเศรษฐกิจ
 บทที่ 4 โครงสร้างพื้นฐาน
 บทที่ 5 การพัฒนาจังหวัด

3. ภาคเกษตรกรรม สำหรับด้านการเกษตร (ยางพารา) ในปี 2552 ราคาเฉลี่ยยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ของจังหวัดภูเก็ตอยู่ที่กิโลกรัมละ 56.81 บาท ได้ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับปี 2551 ซึ่งราคาเฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 78.49 หรือคิดเป็นร้อยละ 27.62 โดยราคาได้ปรับตัวลดลงตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 จนถึงไตรมาสที่ 2 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ซบเซาส่งผลให้ตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะจีนและญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์รายใหญ่ของโลกชะลอการนำเข้ายางธรรมชาติจากไทย อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาราคาจำหน่ายในช่วงไตรมาสที่ 3 และไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 ปรากฏว่าราคาราคายางพาราได้ขยับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสาเหตุเนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย จากสภาพภูมิอากาศทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนตกชุกและหนาแน่น (เกิดพายุดีเปรสชั่น “ มิริแน ” ) ทำให้เกษตรกรกรีดยางได้น้อยลง ส่งผลให้อุปทานยางขาดแคลน รวมถึงภาวะเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว ตลาดมีความต้องการผลผลิตเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการแข่งขันกันรับซื้อยางพารา เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดโดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งได้ใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยมีมาตรการลดภาษีและจ่ายเงินอุดหนุน จึงส่งผลทำให้ปริมาณความต้องการยางธรรมชาติในช่วงดังกล่าวเพิ่มขึ้น
         
ด้านการประมงในปี 2552 ขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้รวมทั้งสิ้น 29,098.21 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ซึ่งมีจำนวน 24,638.44 ตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 18.10 ส่วนมูลค่าสัตว์น้ำ 1,634.24 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 1,566.34 ล้านบาท ของปี 2551 หรือคิดเป็นร้อยละ 4.33 โดยสัตว์น้ำจับได้มากที่สุดอยู่ในช่วงไตรมาสที่ 1 เนื่องจากเรือประมงจากฝั่งอ่าวไทยได้นำสัตว์น้ำมาขนถ่ายที่ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ตเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากประกาศของกรมประมงที่ห้ามจับสัตว์น้ำในช่วงฤดูวางไข่ของฝั่งอ่าวไทย ประกอบกับเรือประมงจากจังหวัดข้างเคียง (พังงา กระบี่ ระนอง) ตลอดจนเรือประมงจากต่างประเทศ(ไต้หวัน จีน ญี่ปุ่น) ที่ทำการประมงในมหาสมุทรอินเดีย ได้นำสัตว์น้ำมาขนถ่ายที่ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ตเพิ่มขึ้น โดยในปี 2552 สัตว์น้ำที่มีปริมาณมากที่สุดที่นำขึ้นจากท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต ได้แก่ ปลาเลย ปลาทูแขก ปลาทูน่า ปลากะตัก และปลาโอ เป็นต้น ทั้งนี้ ตลาดการจำหน่ายสัตว์น้ำอยู่ในจังหวัดภูเก็ต คิดเป็นร้อยละ 48.85 ตลาดในกรุงเทพและจังหวัดอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 40.47 ตลาดต่างประเทศ (ญี่ปุ่น) คิดเป็นร้อยละ 7.12 และโรงงานทูน่าในประเทศ คิดเป็นร้อยละ 3.56

กราฟและแผนภูมิแสดงปริมาณสัตว์น้ำเปรียบเทียบระหว่าง ปี 2552 และปี 2551



ที่มา :
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดภูเก็ต


กราฟแสดงราคายางแผ่นดิบคุณภาพ3 เปรียบเทียบระหว่าง ปี 2552 และปี 2551


แผนภูมิแสดงราคาเฉลี่ยยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 เปรียบเทียบระหว่างปี 2552 และปี 2551



ที่มา : สำนักงานพาณิชย์จังหวัดภูเก็ต

1 / 2 / 3 / 4 / 5 / 6




 

                                                              

จัดทำโดย: กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดภูเก็ต    โทรศัพท์ 076 360700 ต่อ 68052